6 ก.พ. 2562

ยอป่า


ชื่อสมุนไพร  ยอป่า
ชื่ออื่นๆ        สลักป่า สลักหลวง (เหนือ) คุย (พิษณุโลก) โคะ
ชื่อวิทยาศาสตร์   Morinda coreia Buch.-Ham.
ชื่อพ้อง   Morinda exserta Roxb., Morinda tinctoria Roxb.
ชื่อวงศ์    Rubiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านมักคดงอ หักง่าย ผิวกิ่งมีปุ่มปมมาก ช่อดอกและใบออกหนาแน่นรวมกันที่ปลายกิ่ง เรือนยอดเป็นพุ่มรี เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมเทา หนาแตกเป็นร่องตามยาว และแนวขวาง หรือเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ใบ เดี่ยว รูปรีหรือไข่กลับ เรียงตัวแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ปลายใบมนหรือแหลม ฐานใบแหลมหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ และเป็นคลื่น หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ใบแก่บาง เหนียว ผิวใบด้านบนมีขนสากประปราย ด้านล่างมีขนนุ่ม ขนาดของใบ 4-7 x 8-17 ซม. มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ หลุดร่วงง่าย มักพบใบออกรวมกันอยู่ที่ปลายกิ่ง  ดอกเป็นช่อ ออกรวมกันเป็นกลุ่มที่ซอกใบ หรือปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ขนาดดอก 1.5 เซนติเมตร ปลายกลีบแหลม แยกเป็น 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอกหนาเมื่อดอกบานปลายกลีบแผ่กว้างออก  หลอดกลีบเลี้ยงด้านบนแบน สีเขียวอมเหลือง เชื่อมติดกับกลีบดอกข้างเคียงที่ฐาน เกสรตัวผู้สั้น 5 อัน ชูพ้นหลอดกลีบดอก  ผลเป็นผลรวมรูปร่างค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียว เนื้อในอ่อนนุ่ม ฉ่ำน้ำ สีขาว ผลแก่สีดำ มีเมล็ดมาก สีน้ำตาล เมล็ดแบน 1 เมล็ดต่อหนึ่งผลย่อย ออกดอกเดือนเมษายน-กรกฎาคม ผลออกช่วงพฤษภาคม-สิงหาคม พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ยอป่าเป็นไม้มงคลของอีสาน ในการนำข้าวขึ้นยุ้งจะตัดกิ่งยอป่ามาค้ำยุ้งไว้ก่อนนำข้าวขึ้นยุ้ง เพื่อเป็นสิริมงคล มีความหมายว่าให้ข้าวเพิ่มพูน
Share:

19 ธ.ค. 2561

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

รหัสพรรณไม้ : 7-36210-001-003/8
ชื่อพื้นเมือง : ทองพันชั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus Kurz
ชื่อวงศ์ : Acanthaceae
ลักษณะวิสัย : ไม้พุ่ม
บริเวณที่พบ : สวนพฤษศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Rhinacanthus nasutus Kurz หรือชื่ออื่นๆ เช่น ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ หรือต้นดอกข้าวเม่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5-2 เมตร กิ่งอ่อนและลำต้นมักเป็นเหลี่ยม ใบมีลักษณะเป็นทรงรีคล้ายรูปไข่ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อสั้นตามซอกกิ่ง มีสีขาว ปลายกลีบแยกเป็น 2 กลีบ กลีบรองดอกมี 5 กลีบ มีขน ผลมีลักษณะเป็นฝักและมีขน ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร 


Share:

14 ธ.ค. 2561

ปาล์มขวด


ชื่อพันธุ์ไม้ ปาล์มขวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Roystonea regia (HBK.)Cook.
ชื่อวงศ์ PALMAE
ชื่อสามัญ Royal plam, Cuban Royal plam
ถิ่นกำเนิด คิวบา (ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศคิวบา)
ลักษณะวิสัย : ปาล์ม
ลักษณะทั่วไป ตอนที่ยังเล็กอยู่ จะป่อง พองออกบริเวณโคนต้น แต่พอโตขึ้น อาการป่องพองนี้จะไปเกิดที่กลางลำต้น เมื่อโตเต็มที่ ลำต้นสูงประมาณ 50-70 ฟุต
ออกช่อสีขาวนวลใต้คอ ช่อใหญ่แผ่กระจายยาว ติดผลจำนวนมาก
กิ่งก้าน - ใบยาว 6-10 ฟุต ทางใบสั้น ใบย่อยจะงอกจากแกนกลาง ใบเป็น 4 แถวมีกาบใบสีเขียวเรียบเป็นมัน ห่อลำต้นไว้แลดูงดงามตายิ่งนัก
จึงเห็นพวงใหญ่ ออกช่อดอกสีขาวนวลใต้คอ ช่อใหญ่แผ่กระจายยาว ติดผลจำนวนมาก
ประโยชน ์: ปลูกเป็นไม้ประดับตามขอบถนน หรือปลูกในสนามก็ได้
แสง - ต้องการแสงแดดจัด
น้ำ - ในระยะที่เจริญเติบโต จะต้องการน้ำมาก
ดิน - ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
ปุ๋ย - ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักปีละสองครั้ง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด เพราะว่าปาล์มขวดไม่มีหน่อ
โรคและแมลง - ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่เป็นปัญหา


ปาล์มขวด
ต้นปาล์มขวดในธรรมชาติที่รัฐฟลอริดา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
ไม่ถูกจัดอันดับ:Angiosperms
ไม่ถูกจัดอันดับ:Monocots
ไม่ถูกจัดอันดับ:Commelinids
อันดับ:Arecales
วงศ์:Arecaceae
วงศ์ย่อย:Arecoideae
เผ่า:Roystoneae
สกุล:Roystonea
สปีชีส์:R.  regia
ชื่อทวินาม
Roystonea regia
(Kunth) O.F.Cook
ชื่อพ้อง
ปาล์มขวด (อังกฤษroyal palmชื่อวิทยาศาสตร์Roystonea regia) เป็นปาล์มในวงศ์ย่อยหมาก (Arecoideae) มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดา เม็กซิโก อเมริกากลาง และแคริบเบียน ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ประจำประเทศคิวบา[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ปาล์มขวดเป็นปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นคอดใกล้โคนและป่องกลาง ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร สูงได้ถึง 25 เมตร คอสีเขียวเข้มและยาวถึง 1 เมตร ใบรูปขนนก ทางใบยาว 5-6 เมตร ใบย่อยเรียวยาวและแตกออกเป็นสองทิศทาง ช่อดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกใต้คอ ช่อสีขาวนวลขนาดใหญ่ ผลกลม ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีน้ำตาลเข้มถึงม่วง[3]

ประโยชน์

ปาล์มขวดเป็นปาล์มประดับที่ต้องการแสงแดดจัด นิยมปลูกกลางแจ้ง เช่น สวนสาธารณะ ริมทางเดิน ถนนริมทะเล ไม่นิยมปลูกในสนามเด็กเล่นหรือใกล้บ้านเพราะใบใหญ่ เมื่อร่วงลงมาอาจทำอันตรายต่อคนหรือสิ่งของ และรากอาจทำลายโครงสร้างสิ่งก่อสร้างได้[4]
ยอดอ่อนของปาล์มขวดนำมารับประทานได้คล้ายยอดมะพร้าว ผลใช้ผสมเป็นอาหารเลี้ยงหมู[5] เส้นใยจากกาบใบนำมาทำเครื่องจักสาน[6] และรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้[7]

Share:

13 ธ.ค. 2561

กระดังงา


กระดังงา หรือ การเวก (Ylang-Ylang) เป็นไม้รอเลื้อยที่นิยมปลูกมากในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เพราะเป็นไม้ที่แตกกิ่งมาก ให้ใบดกเขียวทั้งปี และมีอายุยืนนาน รวมถึงทนต่อสภาพอากาศร้อน และทนต่อภาวะมลพิษทางอากาศได้สูง จึงนิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา และช่วยลดมลพิษทางอากาศ รวมถึงเป็นได้ประดับดอกด้วย
กระดังงา หรือ การเวก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียตอนใต้ และศรีลังกา สันนิษฐานว่าถูกนำเข้ามาเผยแพร่ และนำเมล็ดเข้ามาปลูกผ่านทางพ่อค้าชาวอินเดียในช่วงสมัยอยุธยาในหมวดสินค้าที่เกี่ยวกับน้ำหอมหรือพืชที่ให้ความหอม
• วงศ์ : Annonaceae
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artabotrys hexapetalus (Linn.f.) Bhandari.
• ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ : Artabotrys siamensis Miq.
• ชื่อสามัญ :Ylang-Ylang
• ชื่อพื้นเมือง :
ภาคกลาง และทั่วไป
– การเวก
– กระดังงาจีน
ภาคเหนือ
– สะบันงาจีน
– สะบันงาเครือ
ภาคใต้
– กระดังงาเถา
ภาคตะวันตก (ราชบุรี)
– กระดังงาป่า
– หนามควายนอน
ดอกการเวก
ขอบคุณภาพจาก www.senseofkrabi.com
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
กระดังงา/การเวก เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็งที่มีเถาขนาดใหญ่ และมีอายุยืนนานหลายปี ลำต้นมีผิวเรียบสีเทาจนถึงดำ โดยเฉพาะต้นที่มีอายุมากจะมีลำต้นสีดำ และมีปุ่มนูนสลับกันตามความสูงของลำต้น โดยแตกกิ่งเลื้อยยาวจำนวนมากบริเวณส่วนปลายของต้น กิ่งอ่อนหรือยอดอ่อนมีสีเขียว
ใบ
ใบกระดังงา/การเวก แทงออกเป็นใบเดี่ยว เยื้องสลับข้างกันบนกิ่ง แผ่นใบเรียบ มีรูปทรงรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขนาดกว้าง 4-8 ซม. ยาว 12-18 ซม. ใบค่อนข้างหนา และเหนียว ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ใต้ใบมีสีอ่อนกว่า และมีขนตามเส้นใบ
ใบการเวก
ขอบคุณภาพจาก www.ss-botany.org
ดอก (ตามรูปด้านบน)
ดอกกระดังงา/การเวก อาจแทงออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกลุ่มหลายดอก 2-5 ดอก มีก้านดอกโค้งงอ สีเขียว ดอกอ่อนหรือดอกตูมที่ยังไม่บานจะมีรูปทรงกรวย ปลายดอกแหลม เมื่อบานจะกลีบดอกจะแผ่ออก และมีกลิ่นหอม จำนวนกลีบดอก 6 กลีบ กลีบดอกอ่อนมีสีเขียว และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อแก่ แต่ละกลีบแยกจากกัน มีรูปรี ปลายกลีบแหลม เรียงสลับกันจำนวน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ โดยกลีบดอกชั้นในจะสั้น และเล็กกว่าชั้นนอก ขนาดกลีบยาวประมาณ 3-4 ซม. โดยกลีบดอกจะบานในช่วงเช้าตรู่ และไม่หุบกลับจนกว่าดอกจะร่วง ทั้งนี้ ดอกกระดังงา/การเวกจะบานได้ตลอดทั้งปี และจะออกดอกมากในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
ผล และเมล็ด
ผลกระดังงา/การเวกมีลักษณะค่อนข้างรี และป้อม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง แดง และสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด
ผลการเวก
ประโยชน์กระดังงา/การเวก
1. ดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ทำน้ำหอม และยาหอม ใช้ทานวด และใช้ในด้านความสวยความงาม
2. ดอกนำมาห่อรวมกันในใบ และสูดดม ช่วยในการผ่อนคลาย
3. ปลูกเป็นไม้ประดับต้น และประดับดอก
4. ปลูกเพื่อให้ร่มเงา
5. ปลูกเพื่อใช้เป็นแนวรั้วหรือเขตแดน
6. เนื่องจากระดังงาจะให้ใบจำนวนมาก ใบดกเขียวอยู่นาน จนเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาได้ดี รวมถึงทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ อาทิ ทนต่อแหล่งที่มีมลพิษทางอากาศสูง ทนต่อสภาพแห้งแล้ง จึงนิยมใช้ปลูกในเมืองใหญ่เพื่อให้ร่มเงา และช่วยบำบัดมลพิษทางอากาศ ดังที่พบเห็นตามข้างถนนในกรุงเทพมหานคร
สาระสำคัญที่พบ
ใบ
– Artabotrys-A และB
– Taxifolin
– Succinic acid
– Fumaric acid
เมล็ด
– Isoamericanin-A
– Isoamericanol-A
– Americanin-B
– Artabotrycinol
– Palmitic acid
– Beta-sitosterol
– Daucosterol
สาระสำคัญในน้ำมันหอมระเหยจากดอก
– ethyl acetate ประมาณ 47.3 %
– isobutyl acetate ประมาณ 26.8%
– ethyl butanoate ประมาณ 9.7%
– ethyl isobutanoate ประมาณ 9.2%
ที่มา : ทวี อินสุระ (2552) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ(1)
สรรพคุณกระดังงา/การเวก
ราก
– ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
– ช่วยฟื้นร่างกายหลังการคลอดบุตร
ลำต้น
– ใช้รักษาโรคในถุงน้ำดี
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์
ใบ
– ใช้รักษาอหิวาตกโรค
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
– ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์
– น้ำต้มจากใบใช้เป็นบาขับปัสสาวะ
ดอก
– ใช้สูดดมแก้อาการวิงเวียนศรีษะ
– น้ำต้มจากดอกนำมาดื่ม ช่วยแก้อาการท้องเสีย
– นำดอกมาต้มดื่ม ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต และช่วยขับปัสสาวะ
ผล
– ใช้รักษาวัณโรค
การปลูก
การปลูกกระดังงา/การเวกนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง รวมถึงใช้วิธีการปักชำกิ่ง โดยการเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่มีขนาดใหญ่ และมีอายุยืนยาวกว่าการปลูกจากกิ่งที่ได้จากการตอนหรือการปักชำ แต่การเพาะด้วยเมล็ดจะงอกช้า เพราะเปลือกเมล็ดค่อนข้างแข็ง และหนา ดังนั้น ควรแช่น้ำก่อน 1-2 วัน ก่อนเพาะ และเมื่อปลูกจนต้นมีขนาดใหญ่แล้ว จำเป็นต้องทำที่ค้ำยันเพื่อให้กิ่งพาดเลื้อยได้
Share:

ตีนเป็ด/พญาสัตบรรณ


ต้นตีนเป็ด หรือ นิยมเรียก พญาสัตบรรณ เป็นไม้โตเร็ว ลำต้นสูงใหญ่ นิยมปลูกเป็นไม้มงคล และไม้ประดับ ให้ใบดกเป็นร่มเงา ดอกมีกลิ่นหอมแรงมากถึงฉุน เนื้อไม้นำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน อาทิ เก้าอี้ โต๊ะ ไม่ตะเกียบ เป็นต้น แต่ไม่นิยมทำเป็นไม้ก่อสร้าง เนื่องจากไม่คงคงทน เนื้อไม้มีความหนาแน่นต่ำ
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : (Alstonia scholaris (L) R.Br.)
• วงศ์ : Apocynaceae
• ชื่อสามัญ : Dita, Shaitan wood, Devil Tree
• ชื่อท้องถิ่น :
– ตีนเป็ด
– ตีนเป็ดขาว
– พญาสัตบรรณ
– หัสบรรณ หัสบัน
– จะบัน
– บะซา
– ปูลา
– ปูแล
ไม้ในสกุลเดียวกันกับตีนเป็ดที่พบในไทยมีหลายชนิด มีลำต้น และใบที่คล้ายกัน เช่น
– ตีนเป็ดเล็ก (Alstonia angustiloba)
– ตีนเป็ดพรุ/ตีนเป็ดน้ำ (Alstonia pneumatophora)
– เที๊ยะ (Alstonia spathulata)
การกระจายพันธุ์
ต้นตีนเป็ด/เป็นพืชท้องถิ่นในเขตร้อน พบได้ในประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย  ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปในทุกภาค เป็นไม้ที่ชอบความชื้นสูง ดินระบายน้ำดี พบมากบริเวณใกล้แหล่งน้ำในป่าเบญจพรรณ หรือชายป่าพรุ  ไม่พบในป่าเต็งรังหรือบริเวณที่สูง (ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน, 2544)(1)
ต้นตีนเป็ด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ลำต้น
ต้นตีนเป็ด/พญาสัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 35-40 เมตร ต้นอายุน้อยมีเรือนยอดเป็นรูปเจดีย์ทรงแบนเมื่อต้นใหญ่เต็มที่ โคนจะเป็นพูพอนขยายใหญ่ ลำต้นมีร่องตามแนวยาวของความสูง เปลือกมีสีเทาอมเหลือง หรือสีน้ำตาล เมื่อถาดเปลือกออกจะมีสีขาว เปลือกชั้นในสีน้ำตาลมีน้ำยางสีขาวไหลมาก เนื้อไม้ และกิ่งเปราะหักง่าย เนื้อไม้เรียบ แตกเป็นร่องง่าย กิ่งที่แตกออกมีรอยแตก เพื่อใช้แลกเปลี่ยนอากาศ
ลำต้นตีนเป็ด
เนื้อไม้ต้นตีนเป็ดมีสีขาวอมเหลือง แตกเป็นเสี้ยนตรงตามแนวยาว เนื้อหยาบเหนียว เนื้อไม้อ่อนไสกบง่ายมาก
2. ใบ
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเป็นวงรอบกิ่ง วงละ 5-8 ใบ ก้านใบยาว 1.5-3 ซม. แผ่นใบเหนียวเหมือนหนังคล้ายใบต้นดอกรัก แผ่นใบรูปรีถึงรูปหอก ปลายใบแหลม และมีติ่งเล็กน้อย ขอบ และผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีด้านบน และด้านล่างใกล้เคียงกัน ใบแก่มีใบด้านบนสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างใบมีสีขาวนวล มีเส้นใบมาก มองเห็นชัดเจน เส้นใบกางออกเป็นมุมฉากกับเส้นกลางใบ
ใบตีนเป็ด
3. ดอก
ดอก ออกเป็นดอกช่อ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีก้านดอกหลักยาว 3-8.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 1 มม. ดอกมีขนาดเล็ก ที่เป็นกลีบดอกรูปไข่ มีหยักเว้า ขนาด 1-1.9 x 1.5-2.3 มม. สีขาวหรือเหลืองอมเขียว ปลายดอกอาจแหลม และแบบมน มีขนนุ่มปกคลุม ปากท่อด้านในดอกมีขนยาวปุกปุย เกสรตัวผู้อยู่บริเวณกลางวงท่อกลีบดอก อับเรณูเกสรตัวผู้มีขนนุ่มปกคลุม ยาว 1.1-1.5 มม. เกสรตัวเมียมีขนาด 2.8-5.2 มม. ดอกเริ่มบานประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม เมื่อดอกบาน 1-2 วัน จะส่งกลิ่นหอมแรงมาก หากดมมากบางคนอาจวิงเวียนศรีษะได้
ตีนเป็ด1
4. ผล
ผลออกเป็นฝัก มีลักษณะกลมยาว สีขาวอมเขียว ออกเป็นคู่ มีผิวฝักเกลี้ยง หย่อนห้อยลงด้านล่าง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ยาว 30-40 ซม. ปลายผลมีลักษณะมนกลม ฝักแก่มีสีเทาน้ำตาล และแตกตามตะเข็บ 2 ซีกซ้าย-ขวา ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก รูปทรงบรรทัด ยาวประมาณ 7 มม. มีขนยาวอ่อนนุ่มเป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง สำหรับพยุงลอยตามลม ฝักแห้ง 1 กิโลกรัม จะมีจำนวนฝักประมาณ 260 ฝัก หลังจากดอกบานจะเริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม และฝักแตกออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
เพิ่มเติมจาก : ทวีวรรธน์ แดงมณี, 2548(2)
ประโยชน์ตีนเป็ด/พญาสัตบรรณ
• เป็นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
• นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคล และให้ร่มเงา
• ดอกออกเป็นช่อ สวยงาม และดอกมีกลิ่นหอมแรง
• เนื้อไม้มีสีขาวอมเหลืองเหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น  หีบ โต๊ะ เก้าอี้
• เนื้อไม้ใช้ทำอุปกรณ์หรือไม้ใช้สอย เช่น ไม้จิ้มฟัน ดินสอ ตะเกียบ ฝักมีด ของเล่นเด็ก หีบศพ
• เนื้อไม้มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับทำทุ่นอวน หรือทุ่นลอยเครื่องจับสัตว์น้ำ
ลักษณะโครงสร้างของเนื้อไม้ (วิรัช และ ดำรง, 2517)(3)
• วงปี เห็นไม่ชัด
• ท่อน้ำ (vessel) ท่อน้ำมีลักษณะกระจัดกระจาย ส่วนใหญ่เป็นท่อน้ำแฝด 2-5 เซลล์ มีท่อน้ำเดี่ยวปนอยู่บ้าง ภายในท่อน้ำบางท่อมีทายโลซิส (tylosis) มีแผ่นเปอร์ฟอเรชั่น (perforation) เป็นแบบรูเดี่ยว
• พาเรนไคมา (parenchyma) มีทั้งแบบติดท่อน้ำ และแบบไม่ติด
• ท่อน้ำ (apotracheal parenchyma) ท่อน้ำเป็นแถบแคบๆ กว้าง 1-4 เซลล์ ภายในเซลล์บางเซลล์จะมีผลึกอยู่
• เส้นใย (fiber)
– ยาวประมาณ 1,630 ไมครอน
– กว้างประมาณ 27 ไมครอน
– ผนังเส้นใยหนาประมาณ 4 ไมครอน
สมบัติทางกายภาพ
เนื้อไม้ตีนเป็ดมีลักษณะเป็นมัน ไม่มีกลิ่น มีรสขม สีขาวอมเหลืองอ่อนถึงน้ำตาลจางๆ น้ำหนักเบา เสี้ยนตรง เนื้อไม้ค่อนข้างละเอียด ไสกบตบแต่งง่าย
– ความชื้น 12%
– ความถ่วงจำเพาะ 0.4
– ความแข็งแรงในการดัด 428 กก./ตร.ซม.
– ความแข็งแรงในการบีบ 311 กก./ตร.ซม.
– ความแข็งแรงในการเชือด 79 กก./ตร.ซม.
– ความดื้อ 55,600 กก./ตร.ซม.
– ความเหนียวจากการเดาะ 1.23 กก.-ม.
– ความแข็ง 207 กก.
– ความทนทานจากการทดลองปักดิน 1.4 (0.8-2) ปี
สมบัติทางเคมี
– โฮโลเซลลูโลส 69.35%
– เซลลูโลส 53.51%
– ลิกนิน 31.72%
– การละลายใน 1% ของโซเดียมไฮดรอกไซด์ 13.99%
– การละลายในน้ำร้อน 5.55%
– การละลายในแอลกอฮอล์ และเบนซิน 4.01%
– การละลายในน้ำเย็น 3.99%
– ขี้เถ้า 1.24%
– เพ็นโตซาน 13.15%
ไม้ต้นตีนเป็ด เป็นเนื้อไม้อ่อน ความหนาแน่นน้อย สามารถเกิดราได้ง่าย  เมื่อตัดแล้วต้องรีบเก็บรักษาในที่ร่ม และแห้งหรือนำมาแช่น้ำ ส่วนไม้ที่แปรรูปแล้วต้องทำการผึ่งแดด อบหรือเคลือบน้ำยาจะช่วยเก็บรักษาได้นาน
ที่มา : ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน, 2544(1)
สรรพคุณตีนเป็ด/พญาสัตบรรณ
• เปลือก นำมาต้มดื่ม
– แก้ไอ ลดไข้ ลดอาการหวัด
– รักษามาเลเรีย
– แก้ท้องเสีย
– แก้บิด
– รักษาเบาหวาน
– รักษาโรคบิด
– รักษาหลอดลมอักเสบ
– รักษาโรคลักปิดลักเปิด
– ขับระดู
– ขับพยาธิ
– ขับน้ำเหลืองเสีย
– ขับน้ำนม
• เปลือก นำมาบดหรือต้มอาบ
– ใช้ทารักษาแผล แผลติดเชื้อ เป็นหนอง
– นำมาอาบช่วยป้องกันโรคเชื้อราทางผิวหนัง
• ใบ ใช้ต้มน้ำดื่ม
– ช่วยขับพิษต่าง ๆ
– รักษาโรคลักปิดลักเปิด
– แก้ไอ ลดไข้หวัด
• ยาง
– ใช้ทารักษาแผล แผลเน่าเปื่อย
– ผสมยาสีฟัน ลดอาการปวดฟัน
– ผสมกับน้ำมันแก้ปวดหู
– ใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะ และยาบำรุงหลังเจ็บไข้
ที่มา : ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน,2544(1), ทวีวรรธน์ แดงมณี, 2548(2),อุฑารัตน์, 2542(4)
การปลูกตีนเป็ด/พญาสัตบรรณ
การเพาะต้นตีนเป็ดนิยมใช้วิธีการเพาะด้วยเมล็ด หรือใช้การปักชำ สำหรับเมล็ดที่นำมาเพาะต้องได้จากต้นที่มีลักษณะสมบูรณ์ ไม่มีรอยโรค ฝักมีลักษณะอวบใหญ่ ฝักยาวและต้องเป็นฝักแก่สีน้ำตาล เริ่มมีรอยปริแตกของฝัก เมื่อได้ฝักแล้วจะนำไปตากแดด ประมาณ 2 วัน เพื่อให้ฝักแตก สามารถแยกเอาเมล็ดออกได้ง่าย
การเพาะกล้าไม้
การเพาะสามารถเพาะลงแปลงปลูกหรือเพาะใส่ถุงเพาะชำก่อน แต่ทั่วไปนิยมเพาะในถุงเพาะชำ และดูแลให้น้ำสักระยะก่อนนำปลูก
วัสดุเพาะจะใช้ดินร่วนปนทรายผสมกับปุ๋ยคอกหรือขี้เถ้าหรือขุยมะพร้าว อัตราส่วนดินกับวัสดุที่ 2:1 บรรจุในถุงเพาะชำขนาด 4×6 นิ้ว หลังจากนั้นหยอดเมล็ด 1 เมล็ด/ถุง และจัดเรียงเป็นแถวให้สามารถเข้าดูแลได้ง่าย
การดูแลจะทำการให้น้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ช่วงเช้าหรือเย็น ให้เพียงพอหน้าดินที่ถุงชุ่ม ไม่ควรให้น้ำมากจนขังปากถุง ดูแลจนต้นกล้าอายุประมาณ 3 เดือน หรือสูงประมาณ 20-30 ซม. ก็จะพร้อมนำปลูกลงแปลง
การปลูก
หากปลูกเป็นสวนป่าขนาดหลายไร่ จำเป็นต้องไถพรวนดิน และกำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งตากดินนาน 5-7 วัน เป็นอย่างต่ำ ระยะการปลูกประมาณ 4×4 เมตร หรือมากกว่า
สำหรับการปลูกเพื่อเป็นไม้มงคล เป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือสถานที่ราชการ นิยมปลูกบริเวณพื้นที่ว่างด้านหน้าเพื่อให้ร่มเงา และเ้นื่องจากต้นตีนเป็ดเมื่อโตเต็มที่จะสูงได้มากกว่า 20 เมตร และแตกทรงพุ่มได้กว้างกว่า 10 เมตร ดังนั้น จึงควรปลูกให้ห่างจากแนวสายไฟ และสิ่งปลูกสร้างมากกว่า 8 เมตร หากต้นสูงมากควรมีการตัดแต่งกิ่ง และเรือนยอด
โรคแมลง
โรค และแมลงของต้นตีนเป็ดมักไม่ค่อยพบ แต่อาจพบการทำลายใบ เช่น หนอนม้วนกินใบ และมักพบการเติบโตของต้นไม่ดี ต้นแคระแกร็น ใบเหลืองจากสภาพดินเค็ม ดินแห้งแล้ง และขาดธาตุอาหาร
เอกสารอ้างอิง
2
Share:

เฟื่องฟ้า/ดอกเฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า (Bougainvillea) จัดเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกทั่วไปตามบ้านเรือนหรือสถานที่ราชการต่างๆ เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ดอกมีหลายสี ออกดอกได้นาน ลำต้นเล็ก และสามารถดัดหรือตัดแต่งได้ตามต้องการ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bougainvillea hybrid
ชื่อสามัญ:
– Bougainvillea
– Paper Flower
อนุกรมวิธาน
Kingdom : Plantae
Subkingdom :Embryophyta
Divition : Tracheophyta
Subdivition :Pteropsida
Class : Angiospermae
Subclass : Dicotyledonae
Order : Caryophyllales
Family : Nyctaginaceae
Genus : Bougainvillea
phuengpha
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น
เฟื่องฟ้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย  มีลำต้นกลม ยาว เนื้อไม้แข็ง และเหนียว เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน เปลือกมีลักษณะบาง สีน้ำตาลแกมเทา ต้นที่มีอายุมากจะมีเปลือกสีดำ แตกกิ่งก้านมาก กิ่งมีขนาดเล็ก เรียวยาว และโน้มลงพื้น กิ่งมีสีเขียวเมื่ออ่อน และกิ่งแก่มีสีน้ำตาลอ่อน ทั่วกิ่งมีหนามแหลมคมขนาดใหญ่ เกิดบริเวณเหนือก้านใบ สีลักษณะสีคล้ายสีกิ่ง
ส่วนของราก เป็นระบบรากแก้ว แตกออกเป็นรากแขนง และรากฝอย รากมีลักษณะเล็ก เรียวยาวได้หลายเมตร ขนานกับพื้นดิน
2. ใบ
ใบเฟื่องฟ้าจัดเป็นใบเดี่ยว แตกออกบริเวณข้อกิ่ง สลับ และเยื้องกันตามความยาวของกิ่งจนจรดปลายกิ่ง ใบมีสีเขียวเข้มหรือสีด่าง มีลักษณะรูปไข่ โคนใบมนใหญ่ และค่อนเรียวที่ปลายใบ กว้างประมาณ 2-5 ซม. ยาวประมาณ 3-8 ซม. มีก้านใบยาวประมาณ 3-5 ซม. มีขนสั้นๆปกคลุมใบ ก้านใบมีเส้นใยเป็นร่างแห
3. ดอกเฟื่องฟ้า
ดอกเฟื่องฟ้าที่เรามองเห็น และเรียกว่า ดอก จะประกอบด้วยใบประดับหรือใบดอก และช่อดอก
โดยใบดอกหรือใบประดับจะแตกออกที่ซอกกิ่งบริเวณปลายกิ่ง มีลักษณะเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ 3 ใบ มีลักษณะเป็นแผ่นบางล้อมรอบช่อดอก ฐานใบจรดกันติดกับก้านช่อดอก มีหลายสีตามลักษณะของพันธุ์ เช่น สีแดง สีชมพู สีขาว สีเหลือง สีส้ม เป็นต้น
phuengpha1
ดอกเฟื่องฟ้าออกเป็นช่อ แตกออกด้วยกันกับใบดอก และอยู่ถัดจากใบดอกที่มีสีต่างๆ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 3 ดอก มีก้านช่อดอกอยู่ตรงกลางบริเวณฐานใบดอก ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลียงเชื่อติดกันเป็นรูปกรวยหลอด กกคลุมด้วยขนสั้นๆจำนวนมาก ภายในกรวยหลอดมีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน และเกสรตัวเมียลักษณะยาวเรียว 1 อัน ภายในประกอบด้วยรังไข่
4. ผล
ผลของดอกเฟื่องฟ้ามักไม่ปรากฏให้เห็นหากไม่นำมาแกะดู เนื่องจากผลจะอยู่ด้านในดอก มีขนาดเล็กมาก สีดำ และที่สำคัญ เฟื่องฟ้าไม่ค่อยติดผลให้เห็นมากนัก นอกจากจะมีการผสมเกสร
สายพันธุ์เฟื่องฟ้า
สายพันธุ์เฟื่องฟ้าที่นิยมปลูกมี 4 ชนิด คือ
1. B. spectabillis เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของบราซิล มีลำต้นแข็งแรง เลื้อยไต่สูงได้ดี ใบรูปไข่ โคนดอกโป่งพอง ทิ้งใบเมื่อออกดอก ออกดอกช่วงฤดูหนาว และมีอากาศแห้ง ดอกไม่ตอบสนองต่อการตัดกิ่ง
2. B. grabra มีถิ่นกำเนิดในทางตอนเหนือของบราซิล (เมืองริโอเดอจาไนโร และเซาเปาโล) มีลักษณะเป็นทรงพุ่มเตี้ย ใบกลมรี ออกดอกตามซอกใบ ใบดอกกลมรี มีสีม่วง มีขนสั้นปกคลุม เมื่อจับจะรู้สึกอ่อนนุ่ม มีเส้นใบดอกสีเขียว ใบดอกไม่ร่วงง่าย ออกดอกนาน โคนดอกโป่งพอง
3. B. peruviana เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของเปรู โคลัมเบีย และเอควาดอร์ มีลักษณะลำต้นเลื้อยได้ดี ใบกว้าง รูปไข่ ใบดอกย่นบาง สีชมพูหรือสีแดงอ่อน
4. B. buttiana เป็นพันธุ์ผสมระหว่าง B. peruviana กับ B. grabra มีรายงานสายพันธุ์นี้ครั้งแรกที่ประเทศตรินิแดด เป็นพันธุ์ชอบเลื้อย ใบกว้างที่ฐาน และเรียวที่ปลาย มีขนปกคลุมเต็มใบ ใบดอกมีรูปไข่ขนาดใหญ่ ส่วนปลายไม่แหลม ใบดอกมีสีแดงเข้มเมื่ออ่อน และแก่เปลี่ยนเป็นสีม่วง ออกดอกเป็นพุ่มขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง มักออกดอกในช่วงอากาศแห้ง
เฟื่องฟ้าที่ปลูกในไทย
1. พันธุ์สุมาลี นำเข้าประมาณปี พ.ศ. 2525 จากประเทศสิงคโปร์ โดยคุณเจริญ ไทรประเสริฐศรี กรรมการสมาคมไม้ประดับในสมัยนั้น มีลำต้นเป็นพุ่ม ออกดอกดก ปลูกในกระถางได้ดี ใบดอกมีสีม่วง กลายพันธุ์ได้เป็นพันธุ์ใหม่ ได้แก่ สุวรรณี สุมาลีสยาม สุมาลีดอกสีเข้ม ขาวสุมาลี ม่วงประเสริฐศรี ม่วงประเสริฐศรีจินดา ทัศมาลี ขาวน้ำผึ้ง สุมาลีสีทอง ทัศมาลีด่างมาก เป็นต้น
2. พันธุ์แดงบานเย็น หรือเรียก ด่างดอกแดง นำเข้าประมาณปี พ.ศ. 2525 จากประเทศสิงคโปร์ มีลักษณะดอกสีบานเย็น ใบมีด่างขาวอมเหลือง กลายพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ ได้แก่ ด่างส้มอ่อน วาสิฏฐี แดงจินดา ชมพูนุช ชมพูทิพย์ แดงรัตนา ด่างส้มเข้ม ศศิวิมล แดงสมประสงค์ เป็นต้น
3. พันธุ์สาวิตรี นำเข้าประมาณปี พ.ศ. 2522 จากประเทศฟิลิปปินส์ โดย ดร. สุรพงษ์ โกสิยจินดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีลักษณะข้อสั้น ใบดอกเกิดชิดกันแน่น และมีขนาดเล็ก มีสีม่วง กลายพันธุ์เป็นพันธุ์ใหม่ ได้แก่ สาวิตรีใบสีเงิน สาวิตรีด่างขอบเหลือง สาวิตรีด่างขอบขาว สาวิตรีศรีสยาม เป็นต้น
4. พันธุ์ดอกสีอิฐ นำเข้าประมาณปี พ.ศ. 2453 โดยหมอชื่อ ไฮแอ็ด ตามการบันทึกของพระยาวินิจวนันดร
5. พันธุ์ดอกสีทับทิม นำเข้าประมาณปี พ.ศ. 2458 จากประเทศสิงคโปร์ โดยพระยาประดิพัทธ์ภูบาล ตามการบันทึกของพระยาวินิจวนันดร
6. พันธุ์ตรุษจีน นำเข้าประมาณปี พ.ศ. 2423 ใบประดับมีสีม่วง เกิดตามซอกใบ  ออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์
ที่มา : บรรณ บูรณะชนบท, 2533.(1), ณรงค์ โฉมเฉลา, 2533.(2)
ประโยชน์เฟื่องฟ้า
1. เป็นไม้ดอกไม้ประดับ ใช้ปลูกตามสวน หน้าบ้านหรือปลูกในกระถางประดับอาคาร
2. ดอกนำมาสกัดเป็นสีย้อมผ้า สีผสมอาหาร
การปลูกเฟื่องฟ้า
1. การปักชำ
การปักชำเฟื่องฟ้าเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดสำหรับการขยายพันธุ์เฟื่องฟ้า เนื่องจากสามารถติดรากได้ดีในเวลารวดเร็ว ง่าย และเกิดการประหยัด รวมถึงได้ดอกตามต้นพ่อแม่พันธุ์ตามต้องการ วิธีนี้จะใช้กิ่งแก่ ตัดความยาวประมาณ 20 ซม. ตัดในช่วงไม่ออกดอก แต่หากเป็นกิ่งใหญ่ ให้ตัดยาว 70-100 ซม. ปักชำในกระถางหรือถุงเพาะชำ โดยใช้ดินผสมกับวัสดุต่างๆ เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขี้เลื่อย และมูลโค อัตราส่วนผสมดินกับวัสดุที่ 2:1 หรือ 1:1 หลังจากนั้นรดน้ำทุกวัน วันละครั้ง ประมาณ 14-30 วัน รากจะเริ่มแทงออก
2. การตอน
เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยมนัก เนื่องจากกิ่งเฟื่องฟ้ามีหนาม และเป็นข้อสั้น ระยะแทงรากนาน
3. การเพาะเมล็ด
เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยมเช่น มักใช้ในวิธีการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น เนื่องจากต้นใหม่มักจะให้สีที่แตกต่างไปจากต้นพ่อแม่พันธุ์เดิม
เอกสารอ้างอิง
1. บรรณ บูรณะชนบท, 2533. เฟื่องฟ้า. ศูนย์ผลิตตำราเกษตรเพื่อชนบท.
2. ณรงค์ โฉมเฉลา, 2533. เฟื่องฟ้า. สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย.
Share:

12 ธ.ค. 2561

ราชพฤกษ์/ต้นคูน


ราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน (Indian Laburnum) ถือเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย และเป็น ไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกมากตามสถานที่ราชการต่างๆ เนื่องจากให้ดอกเป็นช่อใหญ่สีเหลืองสวยงาม นอกจากนั้น ยังเป็นไม้ที่มีสรรพคุณทางยาหลายประการ อาทิ ใช้รักษาท้องร่วง ใช้เป็นยาระบาย ใช้รักษาแผล แผลติดเชื้อ แผลในปาก และรักษาสุขภาพฟัน เป็นต้น
นิเวศวิทยา และการกระจายพันธุ์ พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังทั่วประเทศ และพบในต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย พม่า ลาว เป็นต้น นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia fistula Linn.
• วงศ์ : Caesalpiniaceae
• ชื่อสามัญ :
– Indian Laburnum
– Pudding-pipe Tree
– Golden Shower
• ชื่อท้องถิ่น
– ชัยพฤกษ์ ราชพริก คูน (ภาคกลาง)
– คูน (อีสาน)
– ชัยพฤกษ์ ลักเคย, ลักเกลือ (ใต้)
– ชัยพฤกษ์ คูน ลมแล้ง (ภาคเหนือ)
rajapuek
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูงประมาณ 10-20  เมตร เปลือกต้นอ่อนมีลักษณะเรียบ สีเทาแกมเขียว ต้นที่มีอายุมากเปลือกแตกสะเก็ดเป็นสี่เหลี่ยม สีน้ำตาล ต้นเล็กแตกกิ่งในระดับล่าง เมื่อต้นใหญ่ลำต้นสูง แตกกิ่งมากบริเวณส่วนยอด
rajapuek1
ระบบราก เป็นระบบรากแก้ว และแตกออกเป็นรากแขนงยั่งลึกได้มากกว่า 2 เมตร
2. ใบ
ใบประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยก้านใบหลัก ยาวประมาณ 20-30 ซม. แต่ละก้านใบหลักประกอบด้วยใบย่อย ออกเป็นคู่เรียงสลับตรงข้าม และเยื้องกันเล็กน้อย ใบย่อยแต่ละก้านมีประมาณ 3-8 คู่ ใบย่อยมีก้านใบยาวประมาณ 5-10 ซม. แต่ละใบมีรูปทรงรี แกม รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลมสอบ มีสีเขียวอ่อน และค่อยๆเข้มขึ้นจนเขียวสด ใบกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 7-15 ซม. ใบคู่แรกๆมีขนาดเล็ก และใหญ่ขึ้นในคู่ถัดไป ใบส่วนปลายมีขนาดใหญ่สุด ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านล่างมีขน
rajapuek2
3. ดอก
ดอกออกเป็นช่อ แทงออกตามกิ่งก้าน ช่อห้อยลงด้านล่าง ช่อดอกโปร่งยาวสีเหลือง ยาวประมาณ 20-40 ซม. แต่ละก้านดอกประกอบด้วยดอกจำนวนมาก แต่ละดอกมีก้านดอกสั้น ยาว 1-3 ซม. มีใบประดับใต้กลีบดอก กลีบดอกมีสีเหลืองประมาณ 5 กลีบ รูปรีหรือกลม ด้านในประกอบด้วยเกสร เพศผู้ 10 อัน มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รังไข่รูปขอบขนาน มีขน อับเรณูยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
rajapuek3
4. ผล
ผล มีลักษณะเป็นฝักยาว ทรงกลม ยาวได้มากถึง 60 ซม. ผิวฝักเกลี้ยง ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล น้ำตาลดำ และดำ ตามอายุของฝัก เมล็ดมีลักษณะแบน รูปกลมรี สีน้ำตาลถึงดำ เรียงเป็นชั้นๆ มีผนังกั้นจำนวนมาก ฝักแก่จะยังติดห้อยที่ต้น และจะร่วงประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม
สารสำคัญที่พบ
1. ฝัก
• protein
• carbohydrate
• calcium
• glucose
• alkaloids
• anthraquinone
• gkutin
• pectins
• oxalates
• flavonoid
• aloe emodin
• galactomannan
• kaempferol
• luteolin
• emodin
• Phenylalanine
• Tryptophan
• Triacontyl alcohol (Triacontan-1-ol)
• n-Triacontan-1,30-diol
• n-Triacontyl lignocerate
• สารในกลุ่ม proanthocyanidin
-catechin
-epicatechin
-procyanidin
-epiafzelechin
• สารกลุ่ม anthraquinone
-rhein
-hydroxymethyanthraquinone
-sennoside A, B
-aloin
-barbaloin
-amino acid
-aspartic acid
-glutamic acid
-n-Butyric acid
-formic acid
-fistulic acid
-lysine
2. เมล็ด
• protein
• carbohydrate ในรูปของ galactomannan
• fat
• fiber
• fixed oil
• hydrocyanic acid
• chrysophanol
• phospholipids ของ cephalin และ lecithin
• Arginine
• Leucine
• Methionine
3. ใบ
• tannin
• steroid
• volatile oil
• hydrocyanic acid
• saponin
• triterpenoid
• rhein
• rheinglucoside
• sennoside A, B
• anthraquinones
• chrysophanol
• physcion
• phenolics หลักๆที่พบ คือ flavonoid และ proanthocyanidin ได้แก่
-epicatechin
-procyanidin
-epiafzelechin
4. ดอก
• ceryl alcohol
• kaempferol
• rhein
• phenolics หลักๆที่พบ คือ flavonoid และ proanthocyanidin ได้แก่
-epicatechin
-procyanidin
-epiafzelechin
• alkaloids
• triterpenes
• bianthroquinone glycoside
• fistulin
• rhamnose
5. เปลือกราก
• flovefin
• tannin
• phlobephenes
• สารประกอบของ oxyanthraquinone ได้แก่
-emodin
-chrysophanic acid
-fistuacacidin
-barbaloin
-rhein
6. เปลือก แก่น และกิ่ง
• แก่น Fistucacidin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม leucoanthocyanidin
• เปลือกไม้ ประกอบด้วย tannin, lupeol, β – sitosterol และ hexacosanol
• กิ่ง  พบสาร rhamnetin
sennoside A,B เป็นสารในกลุ่ม anthraquinone ประกอบด้วยหมู่ rhein 2 หมู่เชื่อมติดกัน โดยมีน้ำตาลกลูโคสมาเกาะ 2 โมเลกุล สาร sennoside A,B สามารถพบในพืชชนิดอื่น เช่น รากของโกษฐ์น้ำเต้า ใบ และฝักมะขามแขก ส่วนในต้นคูนพบได้ในส่วนราก ลำต้น ใบ และฝัก พบมากที่สุดในส่วนใบ
รวบรวมจาก : สุนทรี, 2535(5), ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร,2546(6), (Bahorun et al., 2005)(7), (India’s Health Portal, Nodate)(8), (World Agroforestry Center, Nodate)(9)
สรรพคุณราชพฤกษ์/ต้นคูน
1. ดอก
– มีสารที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ(1)
– มีสารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ เช่น เชื้อที่ก่อการอักเสบของหูชั้นนอก(2)(3)
– สารสกัดจากดอกมีฤทธิ์การต่อต้านเชื้อรา(4)
– ดอกนำมาต้มรับประทานมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
– สารสกัดจากดอกราชพฤกษ์ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และความกระชับของผิว(1)
2. ราก เปลือก และแก่น
– ราก นำมาต้มรับประทาน ใช้ลดไข้ รักษาโรคในถุงน้ำดี
– ราก นำมาฝนทารักษากลาก เกลื้อน และโรคผิวหนังต่างๆ
– ราก เปลือก และแก่น นำมาต้มใช้ล้างบาดแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลติดเชื้อ แผลอักเสบ
– ราก เปลือก และแก่น นำมาต้มรับประทาน ใช้เป็นยาระบาย
– ราก เปลือก และแก่น นำมาต้มใส่เหลือเล็กน้อยรับประทาน ใช้แก้ท้องผูก ท้องเสีย
– เปลือกนำมาบดผสมน้ำใช้ทาหรือต้มน้ำอาบ สำหรับรักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง ต้านเชื้อแบคทีเรีย
– แก่น นำมาต้มรับปรานใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
3. ใบ และดอก
– กินสดหรือต้มน้ำรับประทาน ใช้เป็นยาระบาย
– กินสดหรือต้มน้ำรับประทาน ใช้ต้านอนุมูลอิสระ
– กินสดหรือต้มน้ำรับประทาน ใช้ต้านรักษาโรคเบาหวาน บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ ลดอัตราเสี่ยงของโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด
– กินสดหรือต้มน้ำรับประทาน ใช้เป็นยาระบาย
– นำมาบด ใช้ทาผิวหนัง ใช้ทาแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย
4. ฝัก
– เนื้อฝัก นำมาต้มรับประทาน ใช้เป็นยาระบาย ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของลำไส้
– น้ำต้มจากฝัก รับประทานแก้บรรเทาอาหารจุกเสียดแน่นท้อง
รวบรวมจาก : ชลธิชา(1), นักรบ, 2552(3), ภัสสร์พัณณ์, 2549(4)
สารออกฤทธิ์
• สารคาร์ทามีดีน (carthamidine) ของดอกที่ให้สีเหลือง มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ป้อกงัน และรักษาโรคเบาหวาน
• สารคาร์ทามีดีน (carthamidine) ของดอก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิว ต้านการเสื่อมของเซลล์
• สารแคโรทีนอยด์ หลายชนิดในใบ และดอกออกฤทธิ์รวมกันหลายด้าน อาทิ
– ต้านการเสื่อมสภาพของเซลล์ ป้องกันผิวจากอันตรายของแสง ป้องกันผิวเหี่ยวย่น
– ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาอักเสบ โรคต้อกระจก และช่วยให้มองเห็นได้ดีในตอนกลางคืน
– ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกัน และลดอาการภูมิแพ้
– บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ ป้องกันโรคในระบบหัวใจ และหลอดเลือด
– ต้านเซลล์มะเร็ง
• สารในกลุ่ม saponin มีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ขยายหลอดลม แต่มีผลข้างเคียงทำให้เม็ดเลือดแตกตัว
• สาร anthraquinones ที่พบในใบ และฝัก มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ใช้เป็นยาระบาย ใช้ฆ่าเชื้อ
• สารในกลุ่ม flavonoid ที่พบในใบ ดอก และฝัก หลายชนิดออกฤทธิ์รวมกัน ต้านเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ช่วยขยายหลอดลม ช่วยให้ผนังเส้นเลือดแข็งแรง รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
• สารแทนนิน (tannin)ที่พบในเปลือก และแก่น มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ใช้รักษาอาการท้องร่วง นอกจากนั้น เมื่อเข้าสู่ลำไส้จะกับโปรตีนในเยื่อบุ ช่วยลดการอักเสบ ต้านการสูญเสียน้ำ ช่วยดูดซึมน้ำกลับ แต่มีผลทำให้อาหารไม่ย่อย ทำให้ท้องอืด
• สารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ในใบนำมาต้มน้ำดื่มออกฤทธิ์หลายด้าน อาทิ
– ประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ให้พลังงานแก่ร่ากงาย
– ป้องกันโรคโลหิตจาง
– ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดอาการภูมิแพ้
– เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์ตับถูกทำลาย ป้องกันการเสื่อม และชลอเซลล์เสื่อมสภาพ ป้องกันผิวหนังเหี่ยวย่น
– ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาแผล แผลติดเชื้อ
– ต้านเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้
– รักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะอาหาร
– ช่วยดูดซึมสารอาหาร และแร่ธาตุเข้าสู่หลอดเลือด
ประโยชน์ราชพฤกษ์/ต้นคูน
1. คูนเป็นพืชมีดอกสีเหลืองสวยงาม ใช้ปลูกเป็นไม้ต้นประดับ และดอกประดับ เวลาออกดอกจะไม่มีใบ ออกดอกเต็มทั่วต้น
2. หลังผลิใบใหม่ คูนจะมีใบสีเขียวเต็มทั่วต้น ใช้ปลูกให้ร่มเงาตามบ้านเรือน สถานที่ราชการต่างๆ
3. แก่นคูนมีรสฝาด สับเป็นชื้นเล็ก ใช้ผสมเครื่องเคี้ยวหมาก หรือบดให้ละเอียดใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังต่างๆ ใช้ทาประคบแผลรักษาแผล
4. ฝักคูณนำมาสกัดใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง ฆ่าหนอนกินผัก โดย นักรบ เจริญสุข, 2552(3) ได้ศึกษาสารสกัดจากฝักคูณในการป้องกันหนอนกระทู้ในผักคะน้า พบว่า สารสกัดจากฝักคูนสามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ได้
5. ฝัก นำมาสกัดใช้เป็นส่วนผสมของสารฟอกหนัง ได้แก่ สารแทนนินที่ใช้สำหรับตกตะกอนโปรตีน
6. เมล็ดใช้สกัดเอายางเหนียวสำหรับเป็นส่วนผสมของกาวในอุตสาหกรรมยา
7. ลำต้น ใช้ทำไม้ก่อสร้าง ไม้เสา ไม้ค้ำยัน
8. เนื้อไม้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ชนิดต่างๆ
9. ไม้ และกิ่ง ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงหาอาหารในครัวเรือน
10. ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกใช้เป็นส่วนผสมหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะดอกใช้เป็นอาหารสัตว์สำหรับกระตุ้นให้เนื้อมีสีเข้มมากขึ้น
การปลูกราชพฤกษ์
การปลูกราชพฤกษ์นิยมปลูกด้วยเมล็ด รองลงมา คือ การปักชำกิ่ง ซึ่งการปักชำกิ่งจะได้ต้นใหม่ที่ลำต้นไม่ใหญ่ สูง ออกดอกเร็ว แต่วิธีนี้มีการชำติดยาก หากดูแลไม่ดี และระยะการชำติดนาน
สำหรับการ ปลูกด้วยเมล็ด จะใช้เมล็ดจากฝักแก่ที่ร่วงจากต้นหรือติดบนต้นที่มีลักษณะเปลือกฝักสีน้ำตาล จนถึง ดำ สามารถเก็บได้ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม นำมาทุบเปลือก และแกะเมล็ดออก ลักษณะเมล็ดพันะธุ์ที่ดีควรเก็บจากต้นที่มีลำต้นตรง สูงใหญ่ ไม่มีโรค ฝักไม่รอยกัดแทะของแมลง ฝักอวบหนา เป็นมันเงา เมล็ดใน 1 กิโลกรัม จะได้เมล็ดประมาณ 7,400 เมล็ด
เนื่องจากเมล็ดมีเปลือกหนา หากต้องการกระตุ้นการงอกที่เร็ว ให้ใช้วิธี ดังนี้
– ให้นำเมล็ดมาแช่ในกรดกำมะถันเข้มข้น เป็นเวลา 45-60 นาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด
– เฉือนเปลือกออกเล็กน้อย
– นำไปแช่ในน้ำเดือด นาน 2-3 นาที นำออกทิ้งไว้ให้เย็น
การเพาะชำ
1. การเพาะหว่านในแปลงก่อนย้ายใส่ถุงเพาะชำ
ทำโดยการหว่านในแปลงเพาะที่ใช้ดินผสมปุ๋ยคอกกองโรยให้สูง 15-20 ซม. หรือใช้ไม้แผ่นเป็นแบบกั้น เมื่อกองดินสูงได้ระดับหนึ่งแล้วจะหว่านเมล็ดก่อน แล้วใช้ดินโรยปิดหน้าบางๆอีกครั้ง  หลังจากนั้น รดน้ำเป็นประจำ ซึ่งต้นอ่อนจะงอกภายใน 15 วัน ทั้งนี้ ควรให้มีระยะห่างของเมล็ดพอควร อย่างน้อยประมาณ 5 ซม. ขึ้นไป
เมื่อกล้าอายุได้ประมาณ 1 เดือน หรือมีความสูงประมาณ  5-7 เซนติเมตร ให้ถอนต้นย้ายไปเพาะในถุงพลาสติกขนาด 4 x 6 นิ้ว และดูแลให้น้ำอีกครั้ง
2. การเพาะในถุงเพาะชำ
การเพาะวิธีนี้ จะทำให้ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายได้กว่าวิธีแรก ด้วยการนำเมล็ดเพาะในถุงพลาสติกได้เลยโดยไม่ผ่านการเพาะในแปลงก่อน ทำให้สามารถย้ายกล้าที่เติบโตแล้วลงแปลงปลูกได้ทันที
การเพาะจะใช้ดิน ผสมกับวัสดุเพาะ เช่น แกลบ ขี้เลื่อย เศษใบไม้ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก อัตราส่วนดินกับวัสดุเพาะที่ 1:1 หรือ 1:2 บรรจุในถุงเพาะพลาสติก หลังจากนั้นนำเมล็ดลงหยอด 1 เมล็ด/ถุง ทำการรดน้ำ และดูแลจนถึงระยะลงแปลงปลูก
การปลูก
ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะทั้งสองวิธี จะมีระยะที่เหมาะสมที่ความสูงประมาณ 25-30 ซม. สามารถปลูกในพื้นที่ว่างที่ต้องการ แต่หากปลูกในแปลงที่ใช้กล้าำตั้งแต่ 2 ต้น ขึ้นไป ควรมีระยะห่างระหว่างต้นที่ 4-6 เมตร หรือมากกว่า
ต้นคูนที่ปลูกในช่วง 2-3 ปีแรก จะเติบโตช้า แต่หลังจากนั้นจะเติบโตเร็วขึ้น อายุการออกดอกครั้งแรกประมาณ 4-5 ปี
แมลงศัตรู
1. แมลงกินใบ
ในระยะต้นคูนอายุ 1-3 ปีแรก ในช่วงต้นฤดูฝนต้นคูนจะมีการแตกใบใหม่ที่เป็นใบอ่อน ใบอ่อนนี้จะเป็นอาหารโปรดของแมลงหลายชนิด เช่น หนอนผีเสื้อกินใบคูน (Catopsilia pomona) หนอนผีเสื้อเณร (Eurema spp.) ด้วงค่อมทอง (Hypomeces squamosus) แมงกีนูนดำ และกีนูนแดงซึ่งจะเข้ากัดกินใบอ่อนเสียหายทั้งต้น แต่ทั้งนี้ เป็นการระบาดในบางช่วงเวลาเท่านั้น หลังแพร่ระบาดต้นคูนจะแตกใบใหม่มาแทนที่เหมือนเดิม
2. แมลงเจาะลำต้น
เป็นระยะตัวอ่อนของผีเสื้อในวัยหนอนที่อาศัยอยู่ในแก่นคูน และกัดกินเยื่อไม้เป็นอาหาร ได้แก่ หนอนผีเสื้อเจาะต้นคูน (Xyleutes leuconotus) และหนอนกาแฟสีแดง (Zeuzera coffeae) มักพบในต้นคูนที่มีอายุ 1-3 ปีแรก หากมีจำนวนมากจะสังเกตเห็นต้นคูนมีรูเจาะสีแดงจำนวนมาก และมีน้ำยางไหลออก หากทำลายมากยอดอ่อนจะเหี่ยวแห้ง หรือลำต้นหักโค่นได้ง่าย
Share:

ปรง


ปรง (Cycad) จัดเป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่เติบโต และมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคสมัยไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นพืชเยงไม่กี่ชนิดที่ยังเหลือพบให้เห็นอยู่ ทั้งนี้ ปรงนิยมนำมาปลูกสำหรับประดับตามสวนจัดแปลงหรือสวนสาธารณะต่างๆ เนื่องจาก ลำต้น และใบปรงมีความเป็นเอกลักษณะ ดูแปลกตา และมีความสวยงาม อีกทั้ง เป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย ไม่จำเป็นต้องให้น้ำหรือปุ๋ยมากเหมือนไม้ประดับอื่นๆ
อนุกรมวิธาน
• Order : Cycadales
• Family : 1. Cycadaceae
Genus :
– Cycas (ซีกโลกตะวันออก)
• Family : 2. Zamiaceae
Genus :
– Ceratozamia (ซีกโลกตะวันตก)
– Chigua (ซีกโลกตะวันตก)
– Dioon (ซีกโลกตะวันตก)
– Macrozamia (พบเฉพาะประเทศออสเตรเลีย)
– Microcycas (ซีกโลกตะวันตก)
– Lepidozamia (พบเฉพาะประเทศออสเตรเลีย)
– Encephalartos (พบเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกาใต้)
– Zamia (ซีกโลกตะวันตก)
• Family : 3. Strangeriaceae
Genus :
– Strangeria (พบเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกาใต้)
– Bowenia (พบเฉพาะประเทศออสเตรเลีย)
• ชื่อสามัญ : Cycad
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : ตามชนิด
• ชื่อท้องถิ่น : ปรง, มะพร้าวเต่า, มะพร้าวสีดา
ที่มา : 3), 4)
ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ปรงเป็นพืชโบราณที่จัดอยู่ในกลุ่ม gymnosperm เช่นเดียวกับพวกสน (conifer) และแปะก้วย (ginkgo) พบตั้งแต่สมัย Pennsylvanian ประมาณ 300 ล้านปีมาแล้ว และพบมากในยุคจูแรสสิก ปรงเป็นอาหารของไดโนเสาร์ แพร่กระจายทั่วไปตั้งแต่ไซบีเรีย อาลัสกา จนถึงทวีปแอนตาร์กติก
ปัจจุบัน ปรงสามารถพบได้ในเขตร้อน และเขตกึ่งร้อน ซึ่งทั่วโลกมีทั้งหมด 3 วงศ์ 11 สกุล และประมาณ 250 ชนิด ส่วนปรงในประเทศไทยพบปรงในสกุล Cycas ที่มีประมาณ 6 ชนิด และแต่ละชนิดแพร่กระจายในพื้นที่ที่แตกต่างกัน และบางชนิดพบได้เฉพาะในแถบชายทะเลหรือเกาะ เช่น ปรงทะเล
ที่มา : 3)
cycas revoluta
ปรงในประเทศไทย
ปรงในประเทศไทยมีชื่อเรียกท้องถิ่นที่แตกต่างกันตามชนิด ได้แก่ ปรง, มะพร้าวเต่า และมะพร้าวสีดา เป็นต้น โดยการศึกษา และสำรวจปรงในประเทศไทยเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2405 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ ชื่อ JE. Teijsmann ซึ่งเริ่มเดินเท้าสำรวจตั้งแต่พระนคร ผ่านไปทางจังหวัดกาญจนบุรี และเข้าไปที่จังหวัดนครราชสีมา แล้วนำพรรณไม้บางส่วนส่งกลับไปที่หอพรรณไม้ เมืองไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ทำการวิเคราะห์ และจำแนกชนิดพันธุ์ โดยขณะนั้น นาย F.A.W. Miquel ได้จำแนก และตั้งชื่อปรงของไทยให้เป็นปรงชนิดใหม่ในชื่อ Cycas siamensis ในปี พ.ศ. 2406
ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์กชื่อ Johannes Schmidt ได้เข้าสำรวจพันธุ์พืชที่เกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งได้ค้นพบต้นปรงชนิดหนึ่งบนเกาะกระตาด และได้บันทึกเป็นชนิด Cycas circinalis แต่แท้จริงแล้วคือปรงทะเล หรือมะพร้าวสีดา Cycas rumphii
ต่อมาในปี พ.ศ. 2447-2448 นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ C.C. Hosseus ได้เดินทางเข้าสำรวจพันธุ์พืชทางภาคเหนือในประเทศไทย ซึ่งพบปรงชนิด Cycas siamensis ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
ที่มา : 1)
ปรงสกุล Cycas เป็นสกุลที่พบมาถึง 63 จากทั้งหมด 99 ชนิด ชนิดในเอเชีย ถือเป็นสกุลที่พบในประเทศไทย และเป็นสกุลที่นิยมนำมาปลูกประดับตามสวนสาธารณะ หรือแปลงจัดสวนต่างๆมากที่สุด เนื่องจาก หาง่าย ลำต้น และใบมีรูปร่างสวย และเติบโตได้ดีในทุกชนิดดิน ทั้งนี้ ในบางตำรากล่าว่า ปรงสกุล Cycas ที่พบในประเทศไทย มี 6 ชนิด ได้แก่
1. Cycas siamensis พบมากเฉพาะพื้นที่ดินทรายหรือดินที่เป็นรุกรัง ทั้งในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ
2. Cycas revoluta
3. Cycas pectinata พบมากเฉพาะพื้นที่ที่มีหินปูนตามป่าเบญจพรรณ และภูเขาที่มีหินปูน
4. Cycas chamaoaensis พบตามป่าดิบเขาทั่วไป พบมาในทางภาคเหนือ และอีสาน
5. Cycas rumphii พบเฉพาะบริเวณป่าพื้นที่ชายหาด
6. Cycas circinalis พบเฉพาะในป่าดิบชื้นภาคใต้
ที่มา : 2), 3) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราก และลำต้น
ราก (root) ปรงมี 2 ชนิด คือ รากแก้วที่มีขนาดใหญ่ หยั่งลึกลงดินประมาณ 30 เซนติเมตร และรากแขนงที่มีลักษณะเป็นกระจุกแน่น เจริญอยู่ผิวดินด้านบน และแผ่ออกได้ทุกทิศทาง โดยมีปรงบางชนิด เช่น สกุล Zamia จะมีรากแขนงอวบใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหารคล้ายรากแก้ว และปรงบางชนิดมีปลายรากแขนงพองออกเป็นกระเปาะ ภายในมีสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงินที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้
ปรงส่วนใหญ่มีลำ ต้นเหนือดิน ลักษณะลำต้นรูปทรงกระบอก และตั้งตรง ลำต้นไม่แตกกิ่งแขนง แต่อาจพบปรงบางชนิดที่มีอายุมากมีลำต้นแตกแขนงได้เช่นกัน เช่น ปรงสกุล Cycas, Dioon และ Zamia เป็นต้น เปลือกลำต้นมีก้านใบเก่าล้อมรอบ
ใบ
ใบปรง แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1. เกล็ดใบหุ้มยอด (scale leaves หรือ cataphyll) เป็นใบที่มีขนาดเล็ก สีนํ้าตาล พบบริเวณปลายยอดของลำ ต้น
2. ใบแท้ (foliage leaves) เป็นใบประกอบแบบขนนกขนาดใหญ่ มีสีเขียวเข้ม
ความยาวของใบปรงแต่ละชนิดแตกต่างกัน บางชนิดมีใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร บางชนิดยาวถึง 3 เมตร ใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบแก่เกลี้ยงขนที่พบมี 6 ลักษณะ คือ ขนไม่มีสีไม่แตกแขนง ขนไม่มีสีแตกแขนง ขนมีสีไม่แตกแขนง ขนมีสีแตกแขนง ขนมีหลายสี และขนมีสีขนาดสั้นโค้ง ลักษณะของใบอ่อนแรกเกิด (ptyxis) พบ 4 รูปแบบ คือ
1) circinate ptyxis ใบอ่อนม้วนจากปลายใบมาหาโคนใบ พบในสกุล Bowenia
2) erect ptyxis ใบอ่อนมีก้านใบอ่อนตั้งตรงใบย่อยม้วนเข้าหาก้านใบ พบในสกุลCycas, Dioon, Encephalartos, Lepidozamia, Macrozamia, Microcycas และ Zamia บางชนิด
3) inflexed ptyxis ใบอ่อนมีการงอลง พบในสกุล Stangeria, Ceratozamia, Lepidozamia, Macrozamia และ Zamia บางชนิด
4) reflexed ptyxis มีใบอ่อนโค้งพับลง อาจพบในสกุล Cycas และ Dioon
นอกจากนี้ พบว่า ลักษณะของใบอ่อนแรกเกิดมีความสัมพันธ์กับลักษณะวิสัยปรงที่มีลำ ต้นเหนือดินจะมีก้านใบอ่อนตั้งตรง ปรงที่มีเฉพาะลำ ต้นใต้ดินจะมีใบอ่อนม้วน งอลงหรือโค้งพับลง ทำ หน้าที่คล้าย hypocotylar hook ของต้นอ่อนพืชใบเลี้ยงคู่
ปรงส่วนใหญ่มีใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ยกเว้นสกุล Bowenia มีใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคี่ ใบย่อยจัดเรียงตัวแบบสลับหรือตรงกันข้าม แผ่นใบหนาและเหนียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมีหนามแหลม ขอบใบมีทั้งชนิดม้วนลง พบใน Cycas revoluta และ C. siamensis และขอบใบตรง พบใน C. circinalis, C. pectinata, C. rumphii, C. seemannii และ C. thouarsii ไม่มีก้านใบย่อย ใบย่อยที่อยู่บริเวณกลางใบมีขนาดใหญ่ที่สุด และจะค่อย ๆลดขนาดลงบริเวณปลายใบและโคนใบ ปรงสกุล Microcycas มีใบย่อยแบบตัด
ใบย่อยที่อยู่บริเวณปลายใบมีขนาดใกล้เคียงกับบริเวณกลางใบ เส้นกลางใบของปรงสกุล Cycas มี 1 เส้น ภายในมีเนื้อเยื่อท่อลำ เลียง 1 กลุ่ม สกุล Stangeria มีเนื้อเยื่อท่อลำ เลียงหลายกลุ่ม
ปรงวงศ์ Zamiaceae มีเส้นใบหลายเส้น เรียงแบบ dichotomous บนก้านใบและแกนกลางใบพบหนาม 2 ชนิด คือ หนามแท้ (true spines) เกิดจากการลดรูปของใบย่อยที่อยู่บริเวณโคนใบ เรียงขนานกัน 2 แถว พบในต้นที่โตเต็มที่ของ Cycas,Dioon, Encephalartos, Lepidozamia และ Macrozamia แต่ไม่พบหนามในต้นที่ยังเจริญไม่เต็มที่และหนามแบบ prickles เกิดจากเซลล์อิพิเดอร์มิส พบกระจายอยู่บนก้านใบของ Ceratozamia และ Zamia ส่วนสกุล Bowenia, Stangeria และ Microcycas ไม่พบหนามทั้งสองชนิด
โคนก้านใบแผ่เป็นกาบหรือติ่งยื่นออกมา หูใบ (stipule) พบบริเวณโคนใบแท้และเกล็ดใบหุ้มยอด หูใบมี 2 แบบ คือ หูใบที่มีรูปร่างคล้ายฝาครอบ (a cowl-like structure) พบบริเวณโคนใบด้าน adaxial ของปรงสกุล Stangeria และ Bowenia และหูใบที่มีลักษณะแคระแกรนเห็นไม่ชัด และภายในหูใบไม่มีท่อลำ เลียง พบได้ทั้งบนเกล็ดใบหุ้มยอด และใบแท้ของปรงสกุล Ceratozamia, Chigua, Microcycas และ Zamia ส่วนสกุล Microcycas พบหูใบบนเกล็ดใบหุ้มยอดและใบแท้ของต้นกล้าและต้นที่ยังอ่อนวัย แต่ไม่พบในต้นเต็มวัย
ดอก
ปรงมีโครงสร้างสืบพันธุ์ที่ทำหน้าที่คล้ายดอกของพืชทั่วไปที่เรียกว่า โคน โดยปรงเป็นพืชที่มีโคนเพศผู้และโคนเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน โคนเพศผู้ของปรงสกุล Cycas ประกอบด้วยไมโครสปอโรฟิลล์ที่สร้างอับไมโครสปอร์ที่มีผนังบาง สกุล Stangeria และ Dioon มีอับไมโครสปอร์ผนังหนา
ปริมาณอับไมโครสปอร์มีจำ นวนแตกต่างกัน Cycas circinalis มีประมาณ 700 อัน C. media มี 1,160 อัน อับไมโครสปอร์อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3-5 อัน มีขนปกคลุมช่วยป้องกันอันตราย และ Stangeria มีอับไมโครสปอร์ กลุ่มละ 1 อัน Zamia มีกลุ่มละ 2 อัน Microcycas ส่วนใหญ่พบกลุ่มละ 2 อัน แต่อาจพบเพียง 1 อัน เนื่องจาก เกิดการฝ่อ Ceratozamia, Dioon และ Cycas พบอับไมโครสปอร์ กลุ่มละ 3 อัน หรือมากกว่า ยกเว้น Cycas revoluta และ C. circinalis พบกลุ่มละ 2 อัน ก้านของอับไมโครสปอร์ของ
Ceratozamia มีขนาดสั้นๆ Cycas มีก้านอับไมโครสปอร์ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อของไมโครสปอโรฟิลล์
และลดรูปหายไป ส่วน Dioon มีก้านอับไมโครสปอร์เห็น
ละอองเรณู (pollen grain) ของ Cycas มีรูปร่างกลม มีลวดลายเป็นร่องรี ละอองเรณูของ Dioon มีรูปร่างกลม มีลวดลายละอองเรณูเป็นรอยบุ๋มขนาดเล็ก และStangeria มีละอองเรณูรูปร่างค่อนข้างกลม มีลวดลายเป็น
รอยบุ๋มขนาดเล็ก ละอองเรณูของ Bowenia มีรูปร่างรูปรี มีลวดลายเป็นรอยบุ๋มขนาดเล็กเรียงอยู่ชิดกันมาก และเกือบเรียบ
ปรงวงศ์ Zamiaceae มีละอองเรณูรูปรี สกุล Encephalartos มีลวดลายละอองเรณูหลายแบบ บางชนิดเรียบ บางชนิดเป็นรอยบุ๋มขนาดเล็ก ลวดลายละอองเรณูของสกุล Zamia และ Ceratozamia เป็นรอยบุ๋มขนาด
เล็กเรียงกันอยู่ห่าง ๆ และ Microcycas เป็นรอยบุ๋มขนาดเล็กเรียงอยู่ชิดกันมาก
รูปร่าง และขนาดของโคนเพศเมียมีความแตกต่างกันในปรงแต่ชนิด มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตรหรือมากกว่านี้ มีขนสีนํ้าตาลปกคลุมโคน ภายในโคนประกอบด้วยเมกะสปอโรฟิลล์ ฐานของเมกะสปอโรฟีลล์มีออวุลขนาดใหญ่เกาะติดอยู่ ออวุลจะเจริญเป็นเมล็ด
ผล
ผลปรงมีรูปร่างทรงกลมรี หรือ รูปไข่ ผลอ่อนหรือดิบมีสีเขียวสด เมื่อสุกมีสีส้มหรือสีแดง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ส่วนเมล็ดมีลักษณะรูปไข่ เปลือกเมล็ดแข็ง สีน้ำตาล ด้านในเป็นเนื้อเมล็ดที่มีขนาดใหญ่
%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%87
ที่มา : 4) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ
ประโยชน์ปรง
1. ปรงหลายชนิดจัดเป็นอาหารพื้นเมืองที่นิยมนำแกนอ่อนของปรงมาประกอบอาหาร ทั้งแกง ผัด และต้ม เพราะแกนลำต้นมีเนื้ออ่อน กรอบ และมีรสหวานเล็กน้อย
2. หลายประเทศนำแกนลำต้นปรงมาทำแป้งสาคูสำหรับทำขนมหวานหรืออาหาร ด้วยการสับเปลือกนอกลำต้นออกให้เหลือเฉพาะแกนอ่อนด้านในสุด ก่อนนำมาล้างน้ำ นำไปหมักหรือต้มเพื่อกำจัดสารพิษ แล้วนำมาสับ ตากแห้ง และบดเป็นแป้ง นอกจากนั้น ยังนำส่วนอื่น อาทิ ราก และเมล็ดมาใช้ทำแป้งได้ด้วย โดยปรงที่นิยมนำมาทำแป้ง ได้แก่
– Cycas
– Macrozamia
– Zamia
– Encephalartos
2. ใบปรงเป็นใบประกอบแบบขนนกที่มีริ้วใบย่อยเรียวแหลม ดูแปลกตา และสวยงาม จึงนิยมใช้ประดับตกแต่งในงานพิธีต่างๆ
3. เมล็ดปรงนำมาสกัดน้ำมันสำหรับเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพร
4. ปรงหลายชนิดเป็นที่อาศัยของด้วงงวงซึ่งเป็นระยะหนอนของแมลงชนิดหนึ่งที่ชอบเข้ากัดกินแกนลำต้น และยอดอ่อนของปรง ด้วงงวงนี้ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ในการนำมาประกอบอาหารที่ชาวเขานิยมเข้าไปหาด้วงงวงตามต้นปรงมาประกอบอาหารรับประทาน
ทั้งนี้ การนำปรงไปประกอบอาหาร และใช้ทำยาสมุนไพรจะต้องระมัดระวัง เพราะปรงบางชนิดมีพิษ
ปรงที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
1. Cycas rumphii จัดเป็นปรงไทย หรือที่เรียกว่า ปรงทะเล
cycas rumphii
cycas rumphii
2. Cycas circinalis จัดเป็นปรงไทย มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ภาคกลาง และทั่วไป เรียกว่า ปรง, ประจวบคีรีขันธ์ เรียกว่า มะพร้าวสีดา
cycas circinalis
cycas circinalis
3. Cycas siamensis จัดเป็นปรงไทย มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ภาคกลาง และทั่วไป เรียกว่า ปรงป่า, ตราด เรียกว่า ปรงเหลี่ยม และกาญจนบุรี เรียกว่า ตาลปัตรฤาษี
cycas siamensis
cycas siamensis
4. Cycas revoluta จัดเป็นปรงญี่ปุ่นที่นิยมนำเข้ามาปลูกอีกชนิด
cycas revoluta
cycas revoluta
การปลูกปรง
ปรงสามารถเพาะขายพันธุ์หรือขยายพันธุ์ธรรมชาติด้วยเมล็ดเท่านั้น ไม่สามารถใช้การตอนกิ่งได้ หรือปักชำกิ่งได้ เพราะไม่มีกิ่ง นอกจากนั้น ในบางพื้นที่ยังพบชาวบ้านขุดต้นอ่อนของปรงมาปลูกแทนการเพาะด้วยเมล็ด ซึ่งวิธีนี้ทำให้ปรงตามป่าธรรมชาติลดน้อยลง
%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%87
ขอบคุณภาพจาก http://www.greenworldnursery.net/, https://commons.wikimedia.org/, www.palmseeds.net, http://www.llifle.com/
เอกสารอ้างอิง
untitled
Share:

ชมพู่


ชมพู่ (Rose Apple) จัดเป็นผลไม้ยอดนิยมในแถบเอเชีย เนื่องจากผลมีสีสันสวยงาม เนื้อมีรสหวาน เนื้อกรอบ และมีกลิ่นหอม แต่บางชนิดมีรสเปรี้ยวอมหวาน (ชมพู่มะเหมี่ยว) ซึ่งนิยมนำผลสุกมารับประทานสด รวมถึงบางพันธุ์นำมาประกอบอาหาร และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง
• วงศ์ : MYRTACEAE
• ตระกูล : Eugenia (เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าชาย Eugene แห่ง Savoy ในยุโรป) หรือ Syzygium
• วิทยาศาสตร์ : Eugenia spp. หรือตามสายพันธุ์
• ชื่อสามัญ :
– Rose Apple (เนื่องจากมีผลคล้ายแอปเปิ้ล และมีกลิ่นหอมเหมือนกุหลาบ)
– wax apple
– java apple
• ชื่อท้องถิ่นไทย : ชมพู่
• ชื่อท้องถิ่นต่างประเทศ :
– อินเดีย เรียก gulabjaman
– ภาษาลาติน เรียกว่า jambu
– อังกฤษ เรียก jambo
– ฝรั่งเศส เรียก pommerose
– สเปน เรียก pomarosa
– จีน เรียก lien wu
– มาเลเซีย เรียก jambu air manar
– ฟิลิปปินส์ เรียก akopa
ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ชมพู่หลายชนิดมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แล้วค่อยแพร่กระจายเข้าสู่ประเทศในเขตร้อนชื้นต่าง โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย ปัจจุบัน ชมพู่พบปลูกในทุกภาค โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และสมุทรสาคร ซึ่งสายพันธ์ที่มีการปลูกในไทย ได้แก่
1. Eugenia malaccensis Linn. หรือ Syzygium malaccensis ได้แก่
– ชมพู่มะเหมี่ยว หรือ ชมพู่สาแหรก
2. Eugenia javanica Lamk. หรือ Syzygium samarangense ได้แก่
– ชมพู่แก้มแหม่ม
– ชมพู่สีนาก
– ชมพู่พลาสติก
– ชมพู่กะหลาป๋า
– ชมพู่เพชรบุรี
– ชมพู่ทูลเกล้า
– ชมพู่ทับทิมจันท์
– ชมพู่อื่น ที่บ้านเรานิยมรับประทาน
3. Eugenia jambos L. หรือ Syzygium jambos ได้แก่
– ชมพู่น้ำดอกไม้
%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b9%8c
พันธุ์ทับทิมจันท์
ชมพู่เพชรสายรุ้ง
พันธุ์เพชรสายรุ้ง
การใช้ชื่อสกุลชมพู่
ในประเทศไทยใช้ชื่อสกุล Eugenia กับพืชสกุลชมพู่มาตลอด ต่อมา E.D.Merrillและ L.M. Perry (ค.ศ.1938) นักพฤกษศาสตร์รุ่นใหม่ได้ศึกษารายละเอียดลักษณะต่างๆ เพิ่มขึ้น และได้ให้เหตุผลที่แยกเอาสกุล Syzygium ออกจากสกุล Eugenia โดยใช้ลักษณะของเปลือกหุ้มเมล็ดที่ติดกับเปลือกหุ้มผลอย่างหลวมๆ และมีใบเลี้ยง 2 อัน ที่เห็นชัดประกบกันอยู่ตรงกลาง มีลำต้นส่วนล่างใบเลี้ยงแทรกอยู่ตรงกลาง ปัจจุบันหลายประเทศมีการใช้ Syzygium แทน Eugenia แต่ในประเทศไทยใช้ Eugenia อยู่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกลำต้นเรียบหรือขรุขระ มีสีน้ำตาลหรือเทา มักแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณใกล้กับโคนต้น
ใบ
ใบชมพู่ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงกันข้าม ใบหนาผิวด้านหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม และมักเจือด้วยสีแดงหรือม่วง
ดอก
ดอกชมพู่เป็นช่อตามชอกใบ สีดอกแตกต่างกันไปตามพันธุ์อาจจะเป็นสีขาว เหลือง ชมพูหรือแดง ชั้นกลีบเลี้ยงมีจานวน 4-5 กลีบ และอยู่ติดกันเป็นรูปถ้วย ชั้นกลีบดอกมีจานวน 4-5 กลีบ เมื่อดอกบานชั้นกลีบดอกจะหลุดร่วงเป็นแผงคล้ายหมวก เกสรตัวผู้มีจำนวนมากมาย และอับเกสรสีทองอยู่ที่ปลายดอกการออกดอกในประเทศไทยพอจัดได้รุ่นใหญ่ 2 รุ่น รุ่นแรกเริ่มประมาณตุลาคม-พฤศจิกายน รุ่นที่สองเริ่มประมาณกุมภาพันธ์-มีนาคม
ผล และเมล็ด
ผลชมพู่มีลักษณะคล้ายระฆัง ที่ปลายผลมีชั้นของกลีบเลี้ยงรูปถ้วยติดอยู่ตลอด เนื้อ สี รูปร่าง ขนาด และรสชาติแตกต่างกันตามพันธุ์ ส่วนเมล็ด มีตั้งแต่ 1-5 เมล็ด หรืออาจไม่มีเมล็ดแล้วแต่พันธุ์ชมพู่
Syzygium jambos
ชมพู่ในตระกูลนี้มีอยู่ 1 ชนิด ได้แก่ ชมพู่น้ำดอกไม้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ มีลำต้นเดี่ยวทรงสูงตั้งตรง ผิวเปลือกลำต้นเรียบไม่มีรอยขรุขระ กิ่งก้านแตกออกมากพอสมควร กิ่งที่แตกออกบริเวณส่วนโคนต้นจะแผ่ออกเป็นทรงพุ่มกว้าง และเป็นพุ่มเรียวแหลมในส่วนปลาย ขนาดของทรงพุ่มจะมีความสูงประมาณ 6–10 เมตร ต้นมีอายุยืนนาน 30–40 ปี
ใบเป็นรูปหอก (lanceolate) ปลายใบแหลมค่อนข้างยาว (very acuminate) ขนาดของใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใบหนาเป็นมัน ขอบใบเรียบ และก้านใบสั้น
ดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร มีวงของกลีบดอก (corolla) 4 อัน สีขาว มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก วงที่อยู่นอกสุดจะมีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร และแถวที่อยู่ ด้านในยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีสีขาว ส่วนก้านเกสรตัวเมียตอนปลายจะเป็นสีเขียวอ่อน และส่วนโคนจะเป็นสีเหลืองอ่อนยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกประมาณเดือนเมษายน–มิถุนายน และเก็บผลแก่ได้ประมาณเดือนมิถุนายน–สิงหาคม
ผล และรูปร่างของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ส่วนของปลายผล และขั้วผลจะแบน สีของผลภายนอกเมื่อสุก มีสีพื้นเป็นสีขาว และสีผิวเป็นสีเขียวอ่อน เนื้อสีขาว อ่อนบาง และกรอบ รสหวาน มีกลิ่น หอม เมล็ดเป็นสีน้ำตาลมีจำนวน 1-4 เมล็ดต่อผล เป็นเมล็ดแบบ polyembryonic seed คือ เมล็ดหนึ่งสามารถงอกเป็นต้นอ่อนได้มากกว่า 1 ต้น ในผลที่มีเมล็ดเดียวเมล็ดจะมีลักษณะกลม ผลที่มี 2 เมล็ด เมล็ดจะเป็นรูปครึ่งวงกลม และในผลที่มีมากกว่า 2 เมล็ด เมล็ดจะมีลักษณะต่างๆ กัน แต่จะรวมกันอยู่ในลักษณะเป็นเมล็ดกลมดูคล้ายกับเป็นเมล็ดเดียว
Syzygium malaccense
ชมพู่ตระกูลนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชมพู่สาแหรกและชมพู่มะเหมี่ยว ลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยทั่วไปของชมพู่สาแหรกมีลำต้นเดี่ยวตั้งตรง ผิวเปลือกหยาบ และขรุขระอย่างเด่นชัด ทรงพุ่มมีกิ่งก้านแผ่ออกกว้างบริเวณโคนต้น และเป็นพุ่มแหลมบริเวณส่วนยอด ขนาด ของทรงพุ่มมีความสูงประมาณ 8-10 เมตร มีกิ่งแตกออกมากมาย กิ่งใหญ่มักตั้งฉากกับลำต้น กิ่งมีลักษณะกลมสีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลอมแดง บริเวณข้อของกิ่งจะหนา และบริเวณเปลือกจะมีรอยแตกตามความยาวของลำต้น รอยแผลของใบที่หลุดร่วงไปบนลำต้นจะมีขนาดใหญ่ มีอายุประมาณ 8-12 ปี
ใบเป็นรูปโล่ห์ค่อนข้างยาว (oblong-elliptic) ปลายใบแหลมแบน (acute) ขอบใบเรียบ ใบที่โตเต็มที่จะมีขนาดความกว้างประมาณ 10-18 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-36 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อนอมชมพู ใบแก่หลังใบเป็นสี เขียวเข้ม และเป็นมัน ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน มีเส้นกลางใบเด่นชัดสีเขียวอมเหลือง ก้านใบสีน้ำตาลแดง
ลักษณะดอกเกิดเป็นช่อมีจำนวนประมาณ 1-12 ดอก มักเกิดบริเวณซอกใบที่มีใบหลุดร่วงไป ช่อดอกสั้น ก้านดอกย่อยสีชมพูเข้มหรือแดง มีวงของกลีบเลี้ยง (calyx) 4 อัน สีเขียวอ่อน และวงของกลีบดอก 4 อัน สีม่วงแดง เกสรตัวผู้มีอยู่จำนวนมากส่วนโคนจะยึดติดกันเป็นแถว มีสีม่วงแดง วงนอกของเกสรตัวผู้จะยาวประมาณ 3 เซนติเมตร วงในยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เกสรตัวเมียมีขนาดใหญ่และยืดตรง ลักษณะเป็นหลอดสีม่วงแดง ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร รังไข่อยู่ต่ำกว่าฐานรองดอก (inferior ovary) ออกดอกประมาณเดือนเมษายน–มิถุนายน
ผลแก่ประมาณมิถุนายน–สิงหาคม ผลมีรูปร่างกลมยาวแบบผลสาลี่ ปลายผลโป่งออกมีขนาดใหญ่กว่าด้านขั้วผลเล็กน้อย สีผลภายนอกเมื่อสุกมีสีพื้นเป็นสีขาว และสีผิวเป็นสีชมพู มองดูคล้ายออกดอกสีแดงหรือชมพูแกมส้ม หรือแดงเข้มสลับแดงอ่อนตามความยาวของผล ผลมีเนื้อแน่น และเหนียว สีขาวฉ่ำน้ำ รสคล้ายแอปเปิล เมล็ดค่อนข้างกลมใหญ่ ในหนึ่งผลจะมี 1 เมล็ด หรือถ้ามี 2 เมล็ด จะมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมประกบกัน
Syzygium malaccense var. purpurea Hook
ชมพู่ตระกูลนี้คือชมพู่มะเหมี่ยว มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับชมพู่สาแหรก ซึ่งมีลักษณะลำต้นเป็นลำต้นเดี่ยวตั้งตรง ผิวเปลือกขรุขระไม่มาก ทรงพุ่มขนาดความสูงประมาณ 8-10 เมตร ส่วนล่างของทรงพุ่มมีกิ่งก้านแผ่ออกกว้าง และส่วนยอดเป็นพุ่มแหลม กิ่งใหญ่ที่แตกออกมามักตั้งฉากกับลำต้น ชมพู่มะเหมี่ยวมักมีอายุไม่ค่อยยืนเนื่องจากอ่อนแอต่อหนอนเจาะลำต้น โดยทั่วไปมีอายุประมาณ 8-10 ปี
ใบเป็นรูปโล่ค่อนข้างยาว (oblong-elliptic) ปลายใบแหลมแบบ acute ขอบใบเรียบหลังใบเป็นมัน ใบโตเต็มที่มีความกว้างประมาณ 13-16 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร
ดอกมีสีแดงเข้ม มีวงของกลีบเลี้ยง 4 อัน สีม่วงแดงปนเขียว และวงของกลีบดอก 8 อัน สีม่วงแดงอยู่ติดกันเป็นคู่ๆ ละ 2 อัน รวมกันเป็น 4 คู่ แต่ละคู่อยู่ซ้อนกันคือ แผ่นใหญ่อยู่ด้านนอกและแผ่นเล็กอยู่ด้านใน และแต่ละคู่แยกออกจากกันอย่างอิสระ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก บริเวณส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นแผ่นและมีความยาวไม่เท่ากัน พวกที่อยู่วงนอกมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร วงในยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีสีม่วงแดง ส่วนเกสรตัวเมียยาวประมาณ 3.2 เซนติเมตร มีสีม่วงแดง รังไข่อยู่ต่ำกว่าฐานรองดอก (inferior ovary) ออกดอกประมาณเดือนเมษายน-มิถุนายน
ผลแก่เก็บได้ประมาณเดือนมิถุนายน-สิงหาคม พร้อมกับชมพู่สาแหรก ลักษณะผลเป็นรูปทรงกลมยาว ด้านปลายผลโป่งออกและมีขนาดโตกว่าด้านขั้วผลเล็กน้อย สีผลภายนอกเมื่อสุกมีสีพื้นเป็นสีแดงและสีผิวเป็นสีม่วง มองดูเป็นสีเลือดหมู ลักษณะของสีอ่อนและเข้มไม่สม่ำเสมอกันตามความยาวของผล เนื้อในสีขาวอมแดงรสคล้ายแอปเปิล ลักษณะเมล็ดค่อนข้างกลม ในแต่ละผลจะมีเมล็ดผลละ 1 เมล็ดทุกผล และมีน้ำหนักค่อนข้างมากหรือหนักกว่าเมื่อเทียบกับน้ำหนักของเมล็ดชมพู่ชนิดอื่นๆ
Syzygium samarangense
1. ชมพู่แก้มแหม่ม ผลเล็กรูปทรงระฆังแป้น ผลมีสีชมพูอมขาว กลีบดอกมีสีขาวอมเขียว รสหวานน้อย แต่มีกลิ่นหอมคล้ายดอกกุหลาบ เนื้อผลมีสีขาว เนื้ออ่อนนุ่ม มีไส้ด้านในเป็นปุย ไม่ค่อยมีเมล็ด
2. ชมพู่กะหลาป๋า ผลมีสีเขียวอ่อน เนื้อสีขาวแกมเขียวอ่อน เนื้อบาง รสหวานจัดกว่าพันธุ์อื่นๆ ไม่มีเมล็ด
3. ชมพู่กะลาเปา ผลมีสีเขียวแกมเหลือง เนื้อสีเขียวอ่อน แข็งและกรอบ มีไส้เป็นปุย รสหวานพอใช้ ใน 1 ผลจะมีเมล็ดประมาณ 1-5 เมล็ด
4. ชมพู่สีนาก ลำต้นมีทรงต้นเตี้ย มีดอกสีขาวปนเขียวอ่อน ผลสีแดงปนเขียว เนื้อสีเขียวอ่อน แข็งกรอบ รสหวาน มีไส้เป็นปุย ใน 1 ผลจะมีเมล็ดประมาณ 1-3 เมล็ด
5. ชมพู่เพชร เป็นชมพู่ที่อยู่ในชนิด (species) เดียวกันกับชมพู่แก้มแหม่ม ชมพู่กะหลาป๋า ชมพู่กะลาเปา และชมพู่สีนาก ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายกับชมพูพันธุ์อื่นที่กล่าวมาในตระกูลเดียวกัน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชมพู่พันธุ์ผสม ระหว่างชมพู่แดงกับชมพู่กะหลาป๋า เพราะผลมีสีเขียว เนื้อแข็งกรอบเหมือนกับชมพู่กะหลาป๋า ส่วนตรงกลางผลมีลักษณะพองออกเล็กน้อย และผลแก่จะมีเส้นเล็กๆสีแดงเด่นชัด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชมพู่ตระกูลนี้ มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โครงสร้างของลำต้นโดยทั่วไป มีกิ่งที่แตกออกจากลำต้นเป็นกิ่งใหญ่ หรือมีลำต้นมากกว่า 1 ต้น รูปทรงของต้นไม่ค่อยแน่นอนและต้นไม่ตั้งตรงมักคดไปมา ภายในทรงพุ่มมีกิ่งเล็กๆน้อยมากหรือไม่มีเลย ผิวเปลือกของลำต้นและกิ่งจะหยาบและขรุขระ กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดงคล้ำ กิ่งแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือน้ำตาลอมเทา ทรงพุ่มแน่น มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร
ใบลักษณะเป็นรูปโล่ห์หรือรูปโล่ห์ค่อนข้างยาว ฐานใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ไม่ลึก ปลายใบมน เส้นใบเป็นรูปก้างปลา (pinnate reticulate) หน้าใบมีสีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมฟ้า ด้านท้องใบเมื่ออ่อนมีสีม่วงเข้มหรือชมพู เมื่อแก่มีสีเขียวอมเหลือง ขนาดของใบกว้างประมาณ 3-5 นิ้ว ยาว 5-10 นิ้ว ก้านใบสั้นและหนา สีเขียวอมเหลืองหรือเจือสีม่วง
ดอกค่อนข้างใหญ่เกิดเป็นช่อ ยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร อาจเกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือแตกสาขาก็ได้ ดอกเมื่อบานจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม กลีบดอกและเกสรตัวผู้หลุดร่วงง่าย ชั้นของกลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 อัน สีขาวอมเหลือง รูปร่างค่อนข้างกลมหรือคล้ายช้อน มีขอบเรียบหรือหยักละเอียด เกสรตัวผู้รูปร่างยาวมีจำนวนมาก สีขาวอมเหลือง เกสรตัวเมียมีรังไข่ 2 ช่อง ก้านเกสรตัวเมียมีสีเหลืองอมเขียว ยอดเกสรตัวเมียเป็นเส้นปลายมน
ผลรูปคล้ายระฆัง (bell-shaped) ห้อยหัวลง ขั้วผลเรียวมน ขนาดประมาณ 5×6 เซนติเมตร ผิวของผลเป็นมันวาว มีสีเขียว ขาว แกมแดงแล้วแต่ชนิด เนื้อฉ่ำน้ำ สีขาว มีกลิ่นหอม มีไส้คล้ายสำลี รสหวานอมเปรี้ยวถึงหวานจัด เมล็ดมีลักษณะกลมในหนึ่งผลมีเมล็ด 1-5 เมล็ด หากผลใดมี 2 เมล็ด ลักษณะเมล็ดจะเป็นรูปครึ่งวงกลมประกบกัน ในผลที่มีเมล็ดมากกว่า 2 เมล็ด แต่ละเมล็ดจะมีรูปร่างต่างกัน แต่จะรวมกันอยู่ในลักษณะค่อนข้างกลมคล้ายเมล็ดเดียว
ชมพู่ชนิดที่สำคัญและปลูกเป็นการค้าแพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย คือ Syzygium samarangense ซึ่งปลูกกันมากที่จังหวัด เพชรบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร เนื่องจากเป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย ให้ผลดก สีสันชวนรับประทาน และรสชาติดี โดยพันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นชมพู่สายพันธุ์เพชร เช่น เพชรสายรุ้ง เพชรเขียว เพชรทูลถวาย และทูลเกล้า เป็นต้น
ปัจจุบันพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้า ได้แก่ ทูลเกล้า เพชรน้ำผึ้ง เพชรสามพราน และ พันธุ์ทับทิมจันทร์ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เข้ามาในระยะหลัง มีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านทรงผลและสีผลสวย ผลโต ความแน่นเนื้อสูง รสชาติหวานกรอบ คุณภาพผลดี เป็นที่ต้องการของตลาด สามารถส่งเสริมเป็นสินค้าส่งออกได้ และให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง
ที่มา : 1) อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ
สรรพคุณชมพู่ (รอเพิ่มข้อมูล)
การปลูกชมพู่
การเพาะขยายพันธุ์สามารถได้หลายวิธี อาทิ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง และการเสียบยอด และที่นิยมปลูก คือ การปลูกด้วยต้นพันธุ์จากการตอนกิ่ง และการเสียบยอด เพราะสามารถให้ผลผลิตเร็ว และลำต้นไม่สูงมากนัก ส่วนการปลูกจากต้นกล้าเพาะเมล็ดก็ทำได้เช่นกัน แต่ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะกว่าจะติดผลต้องใช้เวลานาน 4-6 ปี
การกิ่งตอน
วิธีขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ถือเป็นวิธีที่นิยมมาก เพราะสะดวก และได้ต้นที่มีลักษณะเหมือนกับต้นแม่พันธุ์ดั้งเดิม อีกทั้ง สามารถขยายได้หลายต้นพร้อมๆกัน รวมถึงต้นที่เติบโตจะมีลำต้นไม่สูงนัก และให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด
การตอนกิ่ง เริ่มจากคัดเลือกกิ่งที่ต้องการตอน โดยคัดเลือกกิ่งที่แข็ง ขนาดกิ่งประมาณนิ้วชี้ถึงนิ้วหัวแม่มือ เปลือกกิ่งมีสีเขียวอมน้ำตาล จากนั้น ใช้มีดตัดควั่นรอบกิ่งเป็น 2 รอย ที่ระยะห่างประมาณ 2-3 เซนติเมตร หรือเท่ากับเส้นรอบวงของกิ่ง จากนั้น ลอกเปลือกออก แล้วใช้มีดขูดเยื่อที่ผิวแก่นของกิ่งออกให้หมดจนถึงเนื้อไม้ แล้วนำถุงพลาสติกที่บรรจุด้วยขุยมะพร้าวชุ่มน้ำ ด้วยการผ่าถุงตามแนวขวางให้ลึกเกือบถึงขอบอีกด้าน และแบะถุงก่อนนำถุงมาหุ้มทับบริเวณรอยกรีดให้มิด ก่อนจะใช้เชือกฟางรัดเป็น 2 เปลาะให้แน่น ทั้งนี้ หลังจากการตอนแล้ว 30 – 45 วัน รอยแผลของกิ่งตอนจะเริ่มมีรากงอก และหลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน รากจะเริ่มแก่เป็นสีน้ำตาลจึงค่อยตัดกิ่งลงปลูกในแปลงหรือปลูกดูแลในถุงเพาะเพื่อจำหน่ายต่อไป
การเสียบยอด
การเสียบยอดจะใช้วิธีเพาะเมล็ดเพื่อให้ต้นเติบโตก่อน โดยดูแลให้ต้นโตสักประมาณนิ้วชี้เพื่อใช้เป็นต้นตอ หลังจากนั้น ตัดต้นตอ ซึ่งอาจหลังปลูกลงแปลงแล้วหรือตัดขณะที่ยังอยู่ในถุงเพาะชำ แล้วค่อยตัดกิ่งชมพูที่มีขนาดเท่ากันมาเสียบยอดเป็นต้นใหม่
การทาบกิ่ง
การขยายพันธุ์แบบนี้ ยังไม่นิยมมากนัก เพราะใช้สำหรับต้นที่ต้องปลูกมาหลายปีที่แตกกิ่งบ้างแล้ว แต่มีข้อดีที่สามารถทำให้มีชมพู่หลายชนิดรวมอยู่บนต้นเดียวกันได้
การเตรียมแปลง และหลุมปลูก
แปลงปลูกครั้งแรกจะต้องไถพรวน และกำจัดวัชพืชออกให้หมด จากนั้นขุดหลุมปลูก กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร และลึกประมาณ 40-50 เซนติเมตร แล้วตากหลุมไว้ประมาณ 5-7 วัน โดยมีระยะปลูกหรือระยะหลุมประมาณ 8-10 x 8-10 เมตร ทั้งนี้ แปลงปลูกในที่ลุ่มควรขุดร่อง และทางระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมร่วมด้วย
%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9%e0%b9%88
การปลูก
หลังจากหลุมนาน 5-7 วันแล้ว ให้หว่านรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก พร้อมคลุกผสมกับหน้าดินให้เข้ากัน จากนั้น นำกิ่งพันธุ์ลงปลูกในหลุม พร้อมกลบหน้าดินให้พูนขึ้นเล็กน้อย ก่อนปักด้วยไม้ไผ่ และรัดด้วยเชือกฟาง และอาจนำฟางข้าวหรือเศษใบไม้มาคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นให้หน้าดิน
การให้น้ำ
1. ระยะเริ่มปลูกใหม่ๆ
การให้น้ำ ควรให้น้ำวันละครั้ง หรือ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าต้นชมพู่จะตั้งตัวได้ แต่หากในฤดูฝนที่มีฝนตกเกือบทุกวันก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ
2. ระยะหลังต้นชมพู่ตั้งตัวได้
หลังที่ต้นติด และตั้งต้นได้ การให้น้ำจะเว้นระยะการให้เป็น 3-5 วัน/ครั้ง การให้น้ำจะให้ตามปกติขณะที่ต้นชมพู่ยังไม่ติดดอกออกผล ถ้าหากเป็นช่วงฤดูแล้งจะต้องให้น้ำอย่างน้อยประมาณ 5-7 วัน ต่อ 1 ครั้ง โดยสังเกตความชื้นของดินเป็นหลัก การให้น้ำแต่ละครั้งจะให้เต็มแอ่งที่ล้อมรอบต้นชมพู่ จนกว่าต้นชมพู่จะออกดอก แล้วจึงทิ้งระยะให้น้ำแห้งไปประมาณ 10-14 วัน เพื่อเป็นการทำให้ต้นชมพู่ออกดอก ในช่วงนี้ถ้าหากดินมีความชื้นจากการได้รับน้ำฝน ก็จะทำให้ต้นชมพู่ออกดอกน้อย และไม่พร้อมกัน หลังจากที่ต้นชมพู่ออกดอกแล้วจึงจะให้น้ำอย่างปกติและเต็มที่ทุกวันหรือ 3-5 วัน/ครั้ง จนกว่าดอกจะเริ่มบานเมื่อต้นชมพู่ติดผลในระยะเวลาประมาณ 3-5 วัน ต้นจะขาดน้ำไม่ได้จนกว่าต้นจะให้ผลแก่ และจะงดให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 5-7 วัน เพื่อเป็นการเพิ่มความหวานให้กับผลได้
การควบคุมวัชพืช
ในระยะปลูกใหม่ควรใช้จอบถากเดือนละครั้ง และควรไถพรวนรอบต้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของวัชพืช ส่วนหลังจากปีที่ 2 แล้ว ให้เว้นระยะห่างการกำวัชพืชเป็น 2-3 เดือน/ครั้ง จนต้นมีทรงพุ่มใหญ่ค่อยกำจัดวัชพืชปีละครั้งก็เพียงพอ
การใส่ปุ๋ย
1. ระยะต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี)
– ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ต้นละประมาณ 500 กรัม/ปี โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง
– ในปีที่ 2-3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปีละ 1 ครั้ง อัตรา 15-20 กิโลกรัม/ต้น และปุ๋ยเคมี 15-15-15 ปีละ 2 ครั้ง อัตรา 300-500 กรัม/ต้น/ครั้ง
2. หลังจากปีที่ 3 ที่ชมพู่เริ่มผลิดอกออกผล
– การใส่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ จะต้องใส่ให้เพียงพอที่จะเลี้ยงต้น และผล ซึ่งหลังเก็บผลชมพู่หมดแล้วให้ทำการตัดแต่งกิ่งชมพู่ประจำปี ถ้ามีผลชมพู่ตอนนี้ต้องปลิดทิ้งไป เพื่อให้ต้นชมพู่ได้พักต้น
– หลังตัดแต่งกิ่งแล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยทุกครั้ง
– ใส่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ ทุกครั้งที่ออกผลปีละประมาณ 3-5 ครั้ง โดยเริ่มใส่ตั้งแต่เดือนธันวาคม-เมษายน ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง
การตัดแต่งกิ่ง
วิธีการตัดแต่งกิ่งต้นชมพู่ จะทำครั้งแรกเมื่อต้นชมพู่ยังมีขนาดเล็ก ในระยะนี้จะต้องตัดแต่งให้ได้รูปทรงของลำต้น และกิ่งแตกออกให้ได้สัดส่วน การตัดแต่งกิ่งจะทำหลังจากการปลูกต้นชมพู่ไปได้สักพัก จนต้นชมพู่ตั้งตัวได้ และเริ่มมีการแตกกิ่งออกมาถึงจะทำการตัดแต่งกิ่ง ส่วนการตัดแต่งกิ่ง ในระยะนี้ ต้นชมพู่จะมีรูปทรงที่แน่น มีกิ่งแตกออกมามากมาย การตัดแต่งจะทำการตัดเอากิ่งที่มีลักษณะเป็นกระโดงออก เหลือไว้ติ่งด้านข้างให้กระจายออกไปในแนวกว้าง เพื่อให้ได้ลักษณะทรงพุ่มเตี้ย ในกรณีที่ต้นมีกิ่งแตกออกมาน้อยมาก และไม่ได้รูปทรงให้ตัดกิ่งเหลือแต่กิ่งกระโดงเอาไว้ เพื่อเป็นกิ่งเสริมให้มีกิ่งมากขึ้น และได้สัดส่วน ส่วนการตัดแต่งกิ่งที่นอกเหนือไปจากนี้ ก็ควรทำบ้างตามความเหมาะสมของต้นชมพู่
การตัดแต่งกิ่งในต้นชมพู่ต้นโตหรือต้นที่ออกผลผลิตแล้ว โดยปกติจะทำการตัดเพื่อเป็นการลดภาระการเลี้ยงดูของต้นให้น้อยลง และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกดอก และติดผลของต้นชมพู่อีกด้วยส่วนระยะในการตัดแต่งกิ่ง ควรทำในระยะหลังจากการเก็บเกี่ยวผลเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน เพียงปีละครั้ง พร้อมกับการใส่ปุ๋ยเพื่อเป็นการบำรุงต้นไปในตัว และวิธีการตัดแต่งกิ่งอีกวีธี คือ การตัดยอดกิ่งหรือการตัดกิ่งกระโดงที่เติบโตสูงเกินไปออก กิ่งในส่วนนี้จะมีประโยชน์ต่อต้นมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับระดับความสูง ถ้าสูงมากเกินไป และไม่สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวก็ให้ตัดออกทันทีให้วัดความสูงจากพื้นดินประมาณ 8-10 เมตร ส่วนกิ่งไหนที่สูงกว่านี้ให้ตัดทิ้งไป
การห่อผล
เนื่องจากชมพู่มีลำต้นค่อนข้างใหญ่ บางต้นสูงถึง 25 เมตร จึงจำเป็นต้องทานั่งร้านไม้ไผ่ เพื่อสะดวกในการห่อผลชมพู่ และเก็บผลชมพู่ แต่ปัจจุบัน นิยมตัดแต่งบังคับทรงพุ่มให้เหลือไม่เกินนั่งร้าน 2 ชั้น เพื่อความสะดวกในการห่อผล และบำรุงรักษา
โดยปกติการห่อชมพู่จะเริ่มห่อผลเมื่อกลีบเลี้ยงอยู่บริเวณปลายผล หุบเข้าหากันเป็นผลจึงห่อได้ หรือขนาดผลประมาณเหรียญบาท และถ้าหากนับอายุจากที่ดอกบานจนถึงการห่อผลจะใช้เวลาประมาณ 70 วัน หากห่อผลล่าช้ากว่าระยะดังกล่าวนี้ จะทำให้ผลชมพู่ไม่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ และข้อควรระวังอย่างยิ่งในการห่อผล คือ ตำแหน่งของผลที่จะทำการห่อที่อยู่บริเวณปลายกิ่ง เวลาห่อจะต้องอาศัยกิ่งอื่นๆช่วย หลังจากนั้น จะต้องผูกยึดให้ติดกับกิ่งใกล้เคียงกันเพื่อกิ่งที่ได้จะไม่อ่อน และหัก สำหรับผลที่เกิดอยู่ตามบริเวณกิ่งจะไม่ค่อยมีปัญหาแต่จะทำการห่อได้ยากมาก
อุปกรณ์ในการห่อผล
– กระเช้าสำหรับใส่ถุง และวัสดุอุปกรณ์ในการห่อ
– ถุงกระดาษหนังสือพิมพ์หรือถุงปูนซีเมนต์ ขนาด 8×12 นิ้ว
– เชือกฟาง หรือ ตอกสำหรับมัดปากถุง หรือที่เย็บกระดาษ
วิธีการห่อผล
– ปลิดช่อผลหรือผลที่ไม่ต้องการทิ้ง โดยเฉพาะช่อผลที่มีผลอัดกันแน่นหรือช่อผลที่ออกกระจุกชิดกันมาก เพราะหากปล่อยให้เติบโตจะทำให้ผลในช่อมีขนาดเล็ก ทั้งนี้ ให้ปลิดผลที่ไม่ต้องการทิ้ง โดยให้เหลือผลไว้ 2-3 ผล/ช่อ จากนั้น นำถุงกระดาษสวมห่อ พร้อมดัดด้วยที่เย็บกระดาษหรือยางรัด และควรระวังไม่ให้ถุงอยู่ติดกับผลชมพู่ เพราะจะทำให้ผิวด้านหน้าเป็นรอยด่าง
– ปริมาณการห่อต่อกิ่งขึ้นอยู่กับขนาดของกิ่ง และความชำนาญของผู้ห่อ ถ้าห่อมากเกินไปอาจจะได้น้อย เนื่องจากผลไม่โตเท่าที่ควรหรืออาจจะร่วงหล่นมาก ถ้าห่อน้อย ผลที่ได้จะมีขนาดใหญ่มีความสมบูรณ์และรสชาติจะดี สีผลสวย
การเก็บเกี่ยวชมพู่
การเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากที่ได้ห่อผลไปแล้วประมาณ 20-25 วัน แต่ต้นที่ออกในฤดูหนาวก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ หลังจากที่ห่อไปแล้วประมาณ 25 วัน ถ้าหากเป็นฤดูร้อนก็ให้เก็บเกี่ยวหลังจากที่ห่อผลไปแล้วประมาณ 20 วัน ส่วนฤดูฝนจะใช้เวลาประมาณ 17-20 วัน ถ้าหากจะนับอายุทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การออกดอกจนถึงการเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาประมาณ 90 วัน
วิธีการเก็บเกี่ยว ให้เริ่มทำการเก็บเกี่ยวภายหลังจากดอกบานแล้วประมาณ 30-35 วัน หรือ 25-30 วัน หลังจากที่ทำการห่อผล ควรเก็บเกี่ยวในช่วงเช้า โดยสังเกตลักษณะของผิว ปกติแล้วสีผิวจะเปลี่ยนไปเมื่อขนาดผลใหญ่ขึ้น ควรใช้กรรไกรตัดบริเวณขั้ว
โรคพืช
โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. จะเข้าทำลายที่ผลของชมพู่ โดยจะเริ่มเป็นแผลฉ่ำน้ำ และมีสีน้ำตาลที่ก้นผล แล้วค่อยๆขยายใหญ่ขึ้น และถ้าสภาวะความชื้นของอากาศเหมาะสม จะมีเส้นใยของรามีลักษณะเป็นผงสีดำอยู่ตามบริเวณรอยแผล
แมลงศัตรู
1. แมลงค่อมทอง
แมลงค่อมทอง เป็นด้วงงวงชนิดงวงสั้น ลำตัวสีเขียวเหลืองทอง รูปไข่ ขนาดลำตัวกว้าง 0.5 มิลลิเมตร ยาว 1.30 – 1.50 เซนติเมตร มักพบอยู่เป็นคู่ๆ ตัวเต็มวัยชอบกัดกินใบอ่อนยอดอ่อน ทำให้เว้าแหว่ง
2. ด้วงม้วนใบ
ด้วงม้วนใบ เป็นด้วงงวงขนาดเล็ก ลำตัวมีสีน้ำตาล คอยาว งวงยาวเกือบเท่าลำตัว บนปีกมีจุดสีเหลือง ตัวเมียชอบกัดกินใบ และวางไข่ในใบที่ม้วน 2 – 3 ฟอง ตัวอ่อนฟักออกจากไข่จะเป็นตัวหนอนที่เข้ากัดกินใบ ก่อนจะม้วนใบเข้าสู่ระยะดักแด้
3. เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายเข็ม ตัวเต็มวัยมีปีก มักจะเข้าทำลายยอดอ่อน ใบอ่อน โดยดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ใบแห้งตาย หรือหงิก บิดเบี้ยว แคระแกร็น
4. แมลงวันผลไม้
เป็นแมลงชนิดหนึ่ง ลำตัวมีสีดำปนเหลือง ตัวเมียจะวางไข่ไว้ในผล และตัวหนอนเข้ากัดกินเนื้อในผล ทำให้ผลเน่า และร่วงหล่นในที่สุด จะทำให้ผลผลิตเสียหายเป็นจานวนมากแล้วยังทำให้คุณภาพของผลชมพู่ลดลงไปด้วย
5. บุ้งเหลือง เป็นตัวหนอนที่ชอบกัดกินใบชมพู่ทั้งใบอ่อน และใบแก่
6. หนอนแดง เป็นตัวหนอนที่ชอบเจาะกินผลชมพู่จนทำให้ผลร่วง
ขอบคุณภาพจาก www.technologychaoban.com/, http://www.thaibiodiversity.org/
เอกสารอ้างอิง
1) ไพศาล ตันไชย. 2548. ลักษณะทางสรีระบางประการของต้นชมพู่ระยะอ่อนวัยในสภาพน้ำท่วมขัง.
Share:

About Me

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช "การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควร ใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการ ศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว"

BTemplates.com

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ค้นหาบล็อกนี้

ร้านรอยลายยอ (ROI LAI YOR)

ร้านรอยลายยอ (ROI LAI YOR)
ร้านรอยลายยอ (ROI LAI YOR)