14 ธ.ค. 2561

ปาล์มขวด


ชื่อพันธุ์ไม้ ปาล์มขวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Roystonea regia (HBK.)Cook.
ชื่อวงศ์ PALMAE
ชื่อสามัญ Royal plam, Cuban Royal plam
ถิ่นกำเนิด คิวบา (ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศคิวบา)
ลักษณะวิสัย : ปาล์ม
ลักษณะทั่วไป ตอนที่ยังเล็กอยู่ จะป่อง พองออกบริเวณโคนต้น แต่พอโตขึ้น อาการป่องพองนี้จะไปเกิดที่กลางลำต้น เมื่อโตเต็มที่ ลำต้นสูงประมาณ 50-70 ฟุต
ออกช่อสีขาวนวลใต้คอ ช่อใหญ่แผ่กระจายยาว ติดผลจำนวนมาก
กิ่งก้าน - ใบยาว 6-10 ฟุต ทางใบสั้น ใบย่อยจะงอกจากแกนกลาง ใบเป็น 4 แถวมีกาบใบสีเขียวเรียบเป็นมัน ห่อลำต้นไว้แลดูงดงามตายิ่งนัก
จึงเห็นพวงใหญ่ ออกช่อดอกสีขาวนวลใต้คอ ช่อใหญ่แผ่กระจายยาว ติดผลจำนวนมาก
ประโยชน ์: ปลูกเป็นไม้ประดับตามขอบถนน หรือปลูกในสนามก็ได้
แสง - ต้องการแสงแดดจัด
น้ำ - ในระยะที่เจริญเติบโต จะต้องการน้ำมาก
ดิน - ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
ปุ๋ย - ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักปีละสองครั้ง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด เพราะว่าปาล์มขวดไม่มีหน่อ
โรคและแมลง - ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่เป็นปัญหา


ปาล์มขวด
ต้นปาล์มขวดในธรรมชาติที่รัฐฟลอริดา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
ไม่ถูกจัดอันดับ:Angiosperms
ไม่ถูกจัดอันดับ:Monocots
ไม่ถูกจัดอันดับ:Commelinids
อันดับ:Arecales
วงศ์:Arecaceae
วงศ์ย่อย:Arecoideae
เผ่า:Roystoneae
สกุล:Roystonea
สปีชีส์:R.  regia
ชื่อทวินาม
Roystonea regia
(Kunth) O.F.Cook
ชื่อพ้อง
ปาล์มขวด (อังกฤษroyal palmชื่อวิทยาศาสตร์Roystonea regia) เป็นปาล์มในวงศ์ย่อยหมาก (Arecoideae) มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดา เม็กซิโก อเมริกากลาง และแคริบเบียน ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ประจำประเทศคิวบา[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ปาล์มขวดเป็นปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นคอดใกล้โคนและป่องกลาง ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร สูงได้ถึง 25 เมตร คอสีเขียวเข้มและยาวถึง 1 เมตร ใบรูปขนนก ทางใบยาว 5-6 เมตร ใบย่อยเรียวยาวและแตกออกเป็นสองทิศทาง ช่อดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกใต้คอ ช่อสีขาวนวลขนาดใหญ่ ผลกลม ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีน้ำตาลเข้มถึงม่วง[3]

ประโยชน์

ปาล์มขวดเป็นปาล์มประดับที่ต้องการแสงแดดจัด นิยมปลูกกลางแจ้ง เช่น สวนสาธารณะ ริมทางเดิน ถนนริมทะเล ไม่นิยมปลูกในสนามเด็กเล่นหรือใกล้บ้านเพราะใบใหญ่ เมื่อร่วงลงมาอาจทำอันตรายต่อคนหรือสิ่งของ และรากอาจทำลายโครงสร้างสิ่งก่อสร้างได้[4]
ยอดอ่อนของปาล์มขวดนำมารับประทานได้คล้ายยอดมะพร้าว ผลใช้ผสมเป็นอาหารเลี้ยงหมู[5] เส้นใยจากกาบใบนำมาทำเครื่องจักสาน[6] และรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้[7]

Share:

0 Comments:

แสดงความคิดเห็น

About Me

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช "การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควร ใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการ ศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว"

BTemplates.com

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ค้นหาบล็อกนี้

ร้านรอยลายยอ (ROI LAI YOR)

ร้านรอยลายยอ (ROI LAI YOR)
ร้านรอยลายยอ (ROI LAI YOR)