ที่มา : https://kanyaratpunalao.wordpress.com/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1-2/
รหัสพรรณไม้: 7-56000-002-059
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tamarindus indica L.
ชื่อวงศ์: Leguminosae – Caesalpinioideae
ชื่อพื้นเมือง : มะขาม
ถิ่นกำเนิด : เป็นพื้นพรรณไม้พื้นเมืองของทวีปแอฟริกา แถบประเทศซูดาน
การขยายพันธุ์ : ทาบกิ่ง , ติดตา , ตอนกิ่ง
เวลาออกดอก : 1 ปี มะขามจะออกดอกและบานประมาณ 5-10 ชุด ระยะเวลาไม่เกิน 2
ทั่วไป
- ต้น : ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้
- ใบ : มีใบประกอบ แบบขนนกปลาย สีเขียวอ่อน ขนาดใบ กว้าง 4 ซ.ม.ยาว 25ซ.ม มีลักษณะพิเศษของใบ คิือ เป็นใบย่อย รูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน สีเขียว มีการเรียงตัวของใบบนกิ่งแบบสลับระนาบเดียว รูปร่างแผ่นใบเป็นรูปขอบ
- ดอก : ดอกเป็นช่อกระจะ ตำแหน่งออกของดอกตามลำต้นหรือกิ่ง กลีบเลี้ยงแยกจากกัน มีจำนวน 4 กลีบ สีชมพูอมแดง กลีบดอกจะเป็นกลีบดอกแยกกัน มีจำนวน 3 กลีบ สีเหลืองลายแดง เกสรเพศผู้จะมีจำนวน 3 อัน สีเหลือง เกสรเพศเมียจะมีจำนวน 1 อัน สีเขียว รังไข่เหนือวงกลีบ
- ผล : ผลเป็นแบบผลเดี่ยว ผลแห้งจะมีฝักหักข้อ สีของผลถ้าเป็นผลอ่อนจะมีสีเขียวเทาและถ้าเป็นผลแก่จะมีน้ำตาลเกรียม รูปร่างผลจะเป็นฝักยาวจะมีลักษณะพิเศษของผลคือมีผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดจะมีจำนวน 3-12 เมล็ด สีของเมล็ดจะเป็นสีน้ำตาล รูปร่างของเมล็ดค่อนข้างกลม
- การเลือกพันธุ์มะขามและระยะปลูก
- การเตรียมดินก่อนจะปลูกมะขาม ขุดหลุมกว้าง 50 ซม. ลึก 50 ซม. หรือถ้าดินและน้ำดีอาจหลุมเล็กกว่านี้ ผสมดินปลูกลงในหลุมด้วยแกลบดิบหรือเปลือกถั่วลิสง ปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน และหน้าดิน 1 ส่วน หรือถ้าไม่มีจริงก็ใช้เศษหญ้าใบไม้แห้งกับหน้าดินก็ได้ ดินผสมประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร เติมกระดูกป่นหรือปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ½ – 1 กก. ถ้าแหล่งใดดินเป็นกรดควรเติมปูนขาวหรือปูนดินอีก ½ กก. เตรียมหลุมรดน้ำไว้พร้อมที่จะปลูกได้
- 1 การให้น้ำ ควรให้น้ำต้นมะขาม ทันทีหลังจากเก็บฝักและตัดแต่งกิ่งแล้ว เพื่อมะขามจะได้ผลิใบใหม่ออกดอกเร็วขึ้น และออกดอกพร้อมกัน ทำให้ฝักแก่เก็บได้เร็วขึ้นอีกด้วย ควรให้น้ำทุกครั้งเมื่อมีการให้ปุ๋ยทางดินและให้บ้าง ขณะติดฝักอ่อนในช่วงที่ฝนทิ้งระยะ หรือดินมีความชื้นน้อย และหยุดการให้น้ำเมื่อฝักเริ่มแก่
- การใส่ปุ๋ย ควรใส่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของมะขาม
ลักษณะวิสัย :ไม้ต้น
ประโยชน์: เนื้อไม้ ใช้ท าเป็นเขียง ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผล แก่ประมาณ 10-20 ฝักน ามาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ าตามลงไป หรืออาจใช้ท าเป็นน้ ามะขามคั้นเอาน้ ากิน เป็นยาแก้ อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ า หรือใช้เนื้อมะขาม ผสมกับข่า และเกลือพอประมาณรับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูน แดง แล้วน ามาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่ น ามาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ ประมาณ 20-30 เม็ด น ามาแช่น้ าเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่ กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี
สรรพคุณทางยา : มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ลดความร้อนของร่างกาย ละลายเสมหะ แก้กระหายน้ำ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ รากมะขามช่วยในการสมานแผล รักษาโรคเริม ช่วยรักษาหวัด อาการไอ
0 Comments:
แสดงความคิดเห็น